ต้นแบบป้ายรถเมล์-ที่พักอาศัยรองรับคนพิการ เพื่อความเท่าเทียมทางสังคมในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการครั้งที่ 8

แสดงความคิดเห็น

"ทุกชีวิตมีค่า ความเท่าเทียมเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข" แนวคิดหลักของผู้กำกับดูแล และส่งเสริมให้คนพิการไทย มีคุณภาพชีวิตที่ดีเทียบเท่ากับคนปกติทั่วไป การจัดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2559 เป็นเวทีที่สำคัญที่ภาครัฐจะสามารถรับฟัง แลกเปลี่ยนความรู้รวมถึงสถาปัตยกรรมและนวัตกรรมที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางสังคมอย่างยั่งยืน

ต้นแบบป้ายรถเมล์-ที่พักอาศัยรองรับคนพิการ เพื่อความเท่าเทียมทางสังคมในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการครั้งที่ 8

นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุในฉบับปัจจุบัน ได้มุ่งเน้นการต่อยอดยุทธศาสตร์จากพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มาสู่การสร้างสังคมที่เอื้ออำนวยต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนพิการ รวมถึงผู้ที่มีข้อจำกัดในการดำรงชีวิตประจำวัน เกิดงานพัฒนาสภาพแวดล้อม และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ผ่านมาพบว่าคนพิการและผู้สูงอายุอีกจำนวนมาก ยังคงเข้าไม่ถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะได้เท่าที่ควร โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการที่อาศัยในภูมิลำเนาที่ห่างไกลเขตเมือง หรือ หากอยู่ในเมือง แต่มีรายได้น้อย ภารกิจสำคัญของ พก. และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคือการนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมและลดความเหลื่อมล้ำ

การจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2559 ซึ่งพก. และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นเจ้าภาพการจัดงานร่วมกัน ได้กำหนดให้มีการดำเนินการจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2559 เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการ ระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมฟื้นฟูฯ รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการระหว่างผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับผู้ทรงคุณวุฒิในระดับสากล โดยมีหัวข้อการประชุมคือ "นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำของสังคม" (Innovation for Social Equality) ซึ่งภายในงานมีการจำลองสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล หรือ universal design ซึ่งเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้งานให้คุ้มค่า รองรับการใช้งานสำหรับทุกคน โดยคำนึงถึงโอกาสการใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น คนสูงอายุ คนป่วย สตรีตั้งครรภ์ คนแคระ เด็กเล็ก ที่มากับรถเข็นเด็ก คนพิการประเภทต่าง ๆ ไม่ว่า ตาบอด หูหนวก แขนขาร่างกายพิการ คนพิการทางปัญญาทางจิต คนที่อ่านหนังสือไม่ออก ฯลฯ แต่ถึงแม้บุคคลเหล่านี้ จะมีข้อจำกัดทางร่างกาย ทางปัญญา ทางจิตใจ แต่ก็เป็นบุคคล ในสังคม สังคมจึงควรรับผิดชอบดูแล ให้สามารถอยู่ในสังคมร่วมกับบุคคลทั่วไป ได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพของแต่ละคน เช่น การจัดให้มีทางลาดขึ้นลงทางเท้า และอาคารสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ให้กับผู้พิการที่ใช้รถเข็น หรือบล็อกพื้นนำทางเดินสำหรับคนตาบอด ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตทำกิจกรรมภายนอกบ้านได้โดยสะดวกและปลอดภัย

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/2489506

ที่มา: ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ส.ค.59
วันที่โพสต์: 19/08/2559 เวลา 13:54:13 ดูภาพสไลด์โชว์ ต้นแบบป้ายรถเมล์-ที่พักอาศัยรองรับคนพิการ เพื่อความเท่าเทียมทางสังคมในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการครั้งที่ 8

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

"ทุกชีวิตมีค่า ความเท่าเทียมเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข" แนวคิดหลักของผู้กำกับดูแล และส่งเสริมให้คนพิการไทย มีคุณภาพชีวิตที่ดีเทียบเท่ากับคนปกติทั่วไป การจัดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2559 เป็นเวทีที่สำคัญที่ภาครัฐจะสามารถรับฟัง แลกเปลี่ยนความรู้รวมถึงสถาปัตยกรรมและนวัตกรรมที่จะช่วยสร้างความเท่าเทียมทางสังคมอย่างยั่งยืน ต้นแบบป้ายรถเมล์-ที่พักอาศัยรองรับคนพิการ เพื่อความเท่าเทียมทางสังคมในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการครั้งที่ 8 นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุในฉบับปัจจุบัน ได้มุ่งเน้นการต่อยอดยุทธศาสตร์จากพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มาสู่การสร้างสังคมที่เอื้ออำนวยต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนพิการ รวมถึงผู้ที่มีข้อจำกัดในการดำรงชีวิตประจำวัน เกิดงานพัฒนาสภาพแวดล้อม และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ผ่านมาพบว่าคนพิการและผู้สูงอายุอีกจำนวนมาก ยังคงเข้าไม่ถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะได้เท่าที่ควร โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการที่อาศัยในภูมิลำเนาที่ห่างไกลเขตเมือง หรือ หากอยู่ในเมือง แต่มีรายได้น้อย ภารกิจสำคัญของ พก. และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคือการนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมและลดความเหลื่อมล้ำ การจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2559 ซึ่งพก. และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นเจ้าภาพการจัดงานร่วมกัน ได้กำหนดให้มีการดำเนินการจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2559 เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการ ระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมฟื้นฟูฯ รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการระหว่างผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับผู้ทรงคุณวุฒิในระดับสากล โดยมีหัวข้อการประชุมคือ "นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำของสังคม" (Innovation for Social Equality) ซึ่งภายในงานมีการจำลองสถาปัตยกรรมเพื่อคนทั้งมวล หรือ universal design ซึ่งเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้งานให้คุ้มค่า รองรับการใช้งานสำหรับทุกคน โดยคำนึงถึงโอกาสการใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น คนสูงอายุ คนป่วย สตรีตั้งครรภ์ คนแคระ เด็กเล็ก ที่มากับรถเข็นเด็ก คนพิการประเภทต่าง ๆ ไม่ว่า ตาบอด หูหนวก แขนขาร่างกายพิการ คนพิการทางปัญญาทางจิต คนที่อ่านหนังสือไม่ออก ฯลฯ แต่ถึงแม้บุคคลเหล่านี้ จะมีข้อจำกัดทางร่างกาย ทางปัญญา ทางจิตใจ แต่ก็เป็นบุคคล ในสังคม สังคมจึงควรรับผิดชอบดูแล ให้สามารถอยู่ในสังคมร่วมกับบุคคลทั่วไป ได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพของแต่ละคน เช่น การจัดให้มีทางลาดขึ้นลงทางเท้า และอาคารสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ให้กับผู้พิการที่ใช้รถเข็น หรือบล็อกพื้นนำทางเดินสำหรับคนตาบอด ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตทำกิจกรรมภายนอกบ้านได้โดยสะดวกและปลอดภัย ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/2489506

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...