สื่อชีวะ 3 มิติ เพื่อเด็กตาบอด

แสดงความคิดเห็น

ผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของสาขาวิชามีเดียอาตส์ และสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

มจธ. ประยุกต์องค์ความรู้ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ผลิตสื่อการเรียนรู้วิชาชีววิทยาแบบ 3 มิติพร้อมระบบเสียงลบข้อจำกัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แก่เด็กพิการทางสายตา

นับเป็นอีกหนึ่งปีที่โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้จัดนิทรรศการเพื่อแสดงผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของสาขาวิชามีเดียอาตส์ และสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ขึ้นเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยจัดขึ้น ณ ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ซึ่งการจัดนิทรรศการดังกล่าวเพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงความรู้และทักษะผ่านผลงานให้เป็นที่รู้จักแก่คนไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในศาสตร์มีเดียระดับประเทศต่อไป

ทั้งนี้มีผลงานที่น่าสนใจหลายชิ้นจาก 4 กลุ่มวิชาเอก คือ Graphic Design, Animation & Visual Effect, Movie Design และ Medical & Science Media อาทิ ผลงาน “การออกแบบสื่อเพื่อการนำเสนอเนื้อหาเรื่องเซลล์สัตว์สำหรับนักเรียนตาบอดระดับมัธยมศึกษา” ของ นางสาวกมลชนก อุปลพันธุ์ นายยุรนันท์ คาน และนายศุภกร จูฑะสุวรรณ นักศึกษาสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ มจธ. โดย ยุรนันท์ กล่าวว่า อยากทำหุ่นจำลองที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ผนวกเข้ากับองค์ความรู้ที่เรียนมา และจากการค้นคว้าข้อมูลพบว่านักเรียนตาบอดเป็นกลุ่มคนสำคัญที่ใช้ประโยชน์จากหุ่นจำลองเพื่อการเรียนรู้ได้มากที่สุดแต่กลับขาดแคลนสื่อดังกล่าว

“การเรียนวิทยาศาสตร์นั้นค่อนข้างยาก โดยเฉพาะชีววิทยานั้นเป็นรายวิชาที่มีรายละเอียดและองค์ประกอบต่างๆ จำนวนมากต้องอาศัยการท่องจำและทำความเข้าใจจากภาพหรือของจริงเป็นสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง แต่ถ้าคนตาบอดการเรียนวิทย์จะยากขึ้นอีกหลายเท่า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีนักเรียนตาบอดที่เลือกศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษาน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย ปัจจุบันวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนวิทย์สำหรับนักเรียนตาบอดนั้นคือการท่องจำ 90 เปอร์เซ็นต์ และอีก 10 เปอร์เซ็นต์ต้องใช้การสัมผัสสื่อเข้าช่วยเพื่อสร้างจินตนาการ แต่ปัจจุบันสื่อที่ดีที่สุด สำหรับนักเรียนตาบอดเป็นเพียงภาพนูนสองมิติเท่านั้นซึ่งสำหรับคนที่มองไม่เห็นคงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการ ดังนั้นเราจึงพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องเซลล์สัตว์ขึ้นมาในรูปแบบสามมิติ เพื่อช่วยให้การเรียนวิทย์ฯ ของนักเรียนตาบอดเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น”

ยุรนันท์ อธิบายต่อว่า เลือกทำหุ่นจำลองของเซลล์สัตว์ เพราะว่ามีเนื้อหาที่ยากและลึกกว่าเซลล์พืช เป็นเนื้อหากลางๆ ที่อยู่ในรายวิชาพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา โดยออกแบบให้เป็นฐานการเรียนรู้เรื่องเซลล์สัตว์ ประกอบด้วยหุ่นจำลองทั้งหมด 11 ชิ้น เริ่มตั้งแต่หุ่นจำลองลักษณะภายนอกของเซลล์สัตว์ และหุ่นจำลองที่อธิบายโครงสร้างภายในของเซลล์ หุ่นจำลององค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ อาทิ ไรโบโซม ไมโทคอนเดรีย และนิวเคลียส เป็นต้น ซึ่งเมื่อนักเรียนตาบอดได้สัมผัสหุ่นจำลองสามมิติแล้วจะช่วยให้สามารถจินตนาการภาพของลักษณะขององค์ประกอบต่างๆ ของเซลล์ได้ชัดเจนและเกิดความเข้าใจมากขึ้นในที่สุด

“นอกจากสร้างหุ่นจำลองสามมิติแล้วเราได้ออกแบบฐานการเรียนรู้ไว้ด้วย ให้นักเรียนได้เรียนรู้ทีละองค์ประกอบโดยมีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาขึ้นใหม่จากหนังสือเรียนเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจของนักเรียนที่ตาบอด และยังเพิ่มฟังก์ชันเสียงอธิบายลักษณะและข้อมูลเฉพาะของหุ่นจำลองทั้ง 11 ชิ้นควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้นักเรียนตาบอดได้เกิดการใช้ประสาทสัมผัส ทั้งการฟังและการสัมผัสควบคู่กันไปในการเรียนรู้ ทั้งหมดในหนึ่งชุดการเรียนรู้ 11 ฐาน ใช้เวลา 25 นาที โดยเราได้ทำคู่มือการใช้งานไว้ด้วย เพื่อความสะดวกแก่การติดตั้งและการนำไปใช้งานในภายหลัง ทั้งยังทำให้เกิดความถูกต้องของการนำเสนอเนื้อหาหากนำไปใช้ซ้ำในสถานที่อื่น”

กมลชนก กล่าวทิ้งท้ายว่า ได้นำสื่อการเรียนรู้สามมิติเรื่องเซลล์สัตว์ชุดนี้ไปทดสอบกับนักเรียนตาบอดจากโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยทั้งสิ้น 11 คน พบว่าสื่อดังกล่าวสามารถสร้างแรงดึงดูดในการพยายามเรียนรู้และทำความเข้าใจในบทเรียนวิทยาศาสตร์จากนักเรียนตาบอดได้ดีมากขึ้น และคิดว่าหากประเทศไทยมีคนที่มีความถนัดในด้านการผลิตสื่อมาช่วยกันพัฒนาสื่อที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับคนพิการทางสายตาให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ก็น่าจะทำให้นักเรียนตาบอดเปิดใจที่จะเลือกเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น ทั้งยังเป็นอีกวิธีหนึ่งในการช่วยส่งเสริมศักยภาพให้กับผู้พิการในสังคมได้อีกทางหนึ่งด้วย

ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/634334

ที่มา: eureka.bangkokbiznews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ส.ค.59
วันที่โพสต์: 19/08/2559 เวลา 11:38:01 ดูภาพสไลด์โชว์ สื่อชีวะ 3 มิติ เพื่อเด็กตาบอด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของสาขาวิชามีเดียอาตส์ และสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ มจธ. ประยุกต์องค์ความรู้ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ผลิตสื่อการเรียนรู้วิชาชีววิทยาแบบ 3 มิติพร้อมระบบเสียงลบข้อจำกัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แก่เด็กพิการทางสายตา นับเป็นอีกหนึ่งปีที่โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้จัดนิทรรศการเพื่อแสดงผลงานนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของสาขาวิชามีเดียอาตส์ และสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ขึ้นเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยจัดขึ้น ณ ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ซึ่งการจัดนิทรรศการดังกล่าวเพื่อเป็นเวทีเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงความรู้และทักษะผ่านผลงานให้เป็นที่รู้จักแก่คนไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในศาสตร์มีเดียระดับประเทศต่อไป ทั้งนี้มีผลงานที่น่าสนใจหลายชิ้นจาก 4 กลุ่มวิชาเอก คือ Graphic Design, Animation & Visual Effect, Movie Design และ Medical & Science Media อาทิ ผลงาน “การออกแบบสื่อเพื่อการนำเสนอเนื้อหาเรื่องเซลล์สัตว์สำหรับนักเรียนตาบอดระดับมัธยมศึกษา” ของ นางสาวกมลชนก อุปลพันธุ์ นายยุรนันท์ คาน และนายศุภกร จูฑะสุวรรณ นักศึกษาสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ มจธ. โดย ยุรนันท์ กล่าวว่า อยากทำหุ่นจำลองที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ผนวกเข้ากับองค์ความรู้ที่เรียนมา และจากการค้นคว้าข้อมูลพบว่านักเรียนตาบอดเป็นกลุ่มคนสำคัญที่ใช้ประโยชน์จากหุ่นจำลองเพื่อการเรียนรู้ได้มากที่สุดแต่กลับขาดแคลนสื่อดังกล่าว “การเรียนวิทยาศาสตร์นั้นค่อนข้างยาก โดยเฉพาะชีววิทยานั้นเป็นรายวิชาที่มีรายละเอียดและองค์ประกอบต่างๆ จำนวนมากต้องอาศัยการท่องจำและทำความเข้าใจจากภาพหรือของจริงเป็นสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง แต่ถ้าคนตาบอดการเรียนวิทย์จะยากขึ้นอีกหลายเท่า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีนักเรียนตาบอดที่เลือกศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษาน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย ปัจจุบันวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนวิทย์สำหรับนักเรียนตาบอดนั้นคือการท่องจำ 90 เปอร์เซ็นต์ และอีก 10 เปอร์เซ็นต์ต้องใช้การสัมผัสสื่อเข้าช่วยเพื่อสร้างจินตนาการ แต่ปัจจุบันสื่อที่ดีที่สุด สำหรับนักเรียนตาบอดเป็นเพียงภาพนูนสองมิติเท่านั้นซึ่งสำหรับคนที่มองไม่เห็นคงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการ ดังนั้นเราจึงพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องเซลล์สัตว์ขึ้นมาในรูปแบบสามมิติ เพื่อช่วยให้การเรียนวิทย์ฯ ของนักเรียนตาบอดเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น” ยุรนันท์ อธิบายต่อว่า เลือกทำหุ่นจำลองของเซลล์สัตว์ เพราะว่ามีเนื้อหาที่ยากและลึกกว่าเซลล์พืช เป็นเนื้อหากลางๆ ที่อยู่ในรายวิชาพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา โดยออกแบบให้เป็นฐานการเรียนรู้เรื่องเซลล์สัตว์ ประกอบด้วยหุ่นจำลองทั้งหมด 11 ชิ้น เริ่มตั้งแต่หุ่นจำลองลักษณะภายนอกของเซลล์สัตว์ และหุ่นจำลองที่อธิบายโครงสร้างภายในของเซลล์ หุ่นจำลององค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ อาทิ ไรโบโซม ไมโทคอนเดรีย และนิวเคลียส เป็นต้น ซึ่งเมื่อนักเรียนตาบอดได้สัมผัสหุ่นจำลองสามมิติแล้วจะช่วยให้สามารถจินตนาการภาพของลักษณะขององค์ประกอบต่างๆ ของเซลล์ได้ชัดเจนและเกิดความเข้าใจมากขึ้นในที่สุด “นอกจากสร้างหุ่นจำลองสามมิติแล้วเราได้ออกแบบฐานการเรียนรู้ไว้ด้วย ให้นักเรียนได้เรียนรู้ทีละองค์ประกอบโดยมีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาขึ้นใหม่จากหนังสือเรียนเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจของนักเรียนที่ตาบอด และยังเพิ่มฟังก์ชันเสียงอธิบายลักษณะและข้อมูลเฉพาะของหุ่นจำลองทั้ง 11 ชิ้นควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้นักเรียนตาบอดได้เกิดการใช้ประสาทสัมผัส ทั้งการฟังและการสัมผัสควบคู่กันไปในการเรียนรู้ ทั้งหมดในหนึ่งชุดการเรียนรู้ 11 ฐาน ใช้เวลา 25 นาที โดยเราได้ทำคู่มือการใช้งานไว้ด้วย เพื่อความสะดวกแก่การติดตั้งและการนำไปใช้งานในภายหลัง ทั้งยังทำให้เกิดความถูกต้องของการนำเสนอเนื้อหาหากนำไปใช้ซ้ำในสถานที่อื่น” กมลชนก กล่าวทิ้งท้ายว่า ได้นำสื่อการเรียนรู้สามมิติเรื่องเซลล์สัตว์ชุดนี้ไปทดสอบกับนักเรียนตาบอดจากโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยทั้งสิ้น 11 คน พบว่าสื่อดังกล่าวสามารถสร้างแรงดึงดูดในการพยายามเรียนรู้และทำความเข้าใจในบทเรียนวิทยาศาสตร์จากนักเรียนตาบอดได้ดีมากขึ้น และคิดว่าหากประเทศไทยมีคนที่มีความถนัดในด้านการผลิตสื่อมาช่วยกันพัฒนาสื่อที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับคนพิการทางสายตาให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ก็น่าจะทำให้นักเรียนตาบอดเปิดใจที่จะเลือกเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น ทั้งยังเป็นอีกวิธีหนึ่งในการช่วยส่งเสริมศักยภาพให้กับผู้พิการในสังคมได้อีกทางหนึ่งด้วย ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/634334

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...