ช้าของทุกวัน ประตูร้าน ‘Dots Coffee’ จะเปิดให้บริการ
[/p]
[b]Connecting Dot to Dot [/b]
เมื่อนำข้อจำกัดทั้ง 3 มากางไว้บนโต๊ะจึงเกิดเป็น Dots Coffee ซึ่งตอบโจทย์ที่เคยมีทั้ง 3 ข้อได้อย่างลงตัว
ร้านกาแฟคือธุรกิจสำหรับทุกคน เป็นสินค้าที่เข้าถึงใครก็ได้ในราคาที่ซื้อได้ทุกวันจนกลายเป็นลูกค้าประจำ พนักงานที่เป็นผู้พิการทางสายตาทำงานหน้าร้าน ไม่ใช่ห้องดินเนอร์มืด ๆ ทำให้ลูกค้าได้เห็นการทำงานจริงจนเป็นเรื่องปกติ ที่สำคัญ ร้านกาแฟยังขยายสาขาได้เรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มตำแหน่งงานให้มากที่สุด
แม้จะมีเงื่อนไขในทรัพยากรบุคคลแบบนี้ แต่เชื่อไหมว่าสิ่งแรกที่กาวินทำหลังจากตัดสินใจร่วมเปิดร้าน ไม่ใช่การวางแผน Operation หรือ Training พนักงาน แต่เป็นการลงรายละเอียดเรื่องโปรดักต์
“คิดเหมือนธุรกิจทั่วไปเลยนี่คะ” เราถาม
“ใช่ครับ เราคิดเรื่องโปรดักต์ เรื่องภาพลักษณ์ของร้านก่อนเลย เพราะสิ่งเหล่านี้จะกระทบกับมุมมองที่คนมีต่อพนักงานของเรา ยกตัวอย่างนะ คนจะมีภาพจำว่าคนตาบอดชอบทำของมาขาย แล้วของที่ขายก็ไม่ได้มีคุณภาพอะไร เขาไม่ได้ขายสินค้า แต่เขาขายความเห็นใจ สุดท้ายมันก็ไม่ใช่ธุรกิจ มันคือการบริจาคอยู่ดี
“เราไม่อยากให้ร้านนี้เป็นแบบนั้น อยากลบภาพจำที่คนมี อยากยกระดับน้อง ๆ พนักงานว่าเขาก็ทำงานที่มีคุณภาพในร้านที่ดี ขายของดี ๆ เขาใช้ทักษะในการทำงานนี้ได้”
กาวินได้ผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมกาแฟมาเป็นผู้จัดการร้าน ได้มือคั่วกาแฟการันตี Q Grader จากเชียงรายมาคั่วกาแฟให้ การรับสมัครพนักงานก็มีคุณจูเลี่ยนซึ่งเคยทำ DID มาก่อนคอยจัดการ ส่วนเรื่อง Operation หน้าร้าน กาวินบอกว่าเขาทำงานร่วมกับพนักงานผู้พิการในการออกแบบ แต่ไม่ใช่ออกแบบใหม่ทั้งหมด
“เรายังยึดมาตรฐานของการทำร้านกาแฟ เอาหลักการมาตั้งแล้วลองให้น้องรุ่นแรกทำงาน มันไม่ใช่การถามเขาเลยว่า ต้องการให้ร้านเป็นแบบไหน เพราะเขาเองก็คงตอบไม่ได้ แต่เราทำร้านให้เป็นมาตรฐาน บอกเขาว่าเป้าหมายที่ต้องการคืออะไร แล้วให้เขาลองทำดู พอลองทำแล้วคิดเห็นยังไง มาปรับแก้กัน ซึ่งทุกวันนี้มันก็ยังเป็น Work in Process ยังปรับเปลี่ยนได้เรื่อย ๆ”
ที่ร้านของ Dots Coffee ไม่ได้สั่งเฟอร์นิเจอร์ออกแบบพิเศษ ไม่มีเครื่องมือที่ทำขึ้นมาเพื่อคนพิการทางสายตาโดยเฉพาะ เคล็ดลับที่กาวินเรียนรู้หลังจากทำร้านมา 6 ปี คือแค่ต้องวางทุกอย่างให้เป็นระเบียบ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทุกร้านควรทำอยู่แล้ว นอกจากนี้ก็แค่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้ดีขึ้น เช่น ใช้หัวปั๊มสำหรับวัตถุดิบของเหลว เพราะมันวัดปริมาณได้แม่นยำกว่าการเท การเลือกใช้เครื่องสตีมอัตโนมัติ มีการติดอักษรเบรลล์บนสิ่งของบางอย่าง
“เราไม่อยากให้ลูกค้าเข้ามาใน Dots Coffee แล้วรู้สึกว่าเราต้องออกแบบทำทุกอย่างพิเศษขึ้นมาเพื่อให้คนพิการทำงานได้จริง” เขายิ้ม
ช้าของทุกวัน ประตูร้าน ‘Dots Coffee’ จะเปิดให้บริการ