จากชีวิตคนพิการไร้บัตรประชาชน กับเส้นทางค้นหาตัวตน-คืนสิทธิคนไทยที่พาไปโดย ‘ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง’
[/p]
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะกำหนดให้ “การเข้าถึงบริการสุขภาพ” เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน ทว่าในความเป็นจริงกลับมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังตกหล่นจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นกลไกที่ช่วยดูแลผู้คนไม่ให้ล้มละลายจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
นั่นก็เพราะยังมี [b]กลุ่มประชากรคนไทยที่ตกหล่นจากสถานะทางทะเบียนอีกมาก โดยข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่าปัจจุบันมีคนกลุ่มนี้กว่า 5.2 แสนคน ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ได้มีความร่วมมือระหว่าง 9 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานพัฒนาการเข้าถึงสิทธิของคนไทยไร้สิทธิและกลุ่มชาติพันธุ์ให้เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ จนเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) และสิทธิสุขภาพที่เหมาะสมไปได้แล้วราว 2,570 คน[/b]
หนึ่งในกลไกที่มีส่วนสำคัญร่วมแก้ไขปัญหานี้ คือ “หน่วยรับเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 50 (5)” แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2551 โดยเปิดทางให้หน่วยงานภายนอก ทั้งภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคเอกชน เข้ามาทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน เพื่อสร้างกลไกคุ้มครองสิทธิบัตรทองที่เข้าถึงง่าย และเป็นอิสระจากสถานบริการโดยตรง
ต่อมาในปี 2566 หน่วยงานดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง” พร้อมขยายบทบาทในการรับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบข้อเท็จจริง ปกป้องสิทธิประชาชน และผลักดันให้หน่วยบริการยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษา
จากชีวิตคนพิการไร้บัตรประชาชน กับเส้นทางค้นหาตัวตน-คืนสิทธิคนไทยที่พาไปโดย ‘ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง’