‘เท้าเทียมไดนามิก’ ฝีมือคนไทย คุณภาพเท่า ตปท. ‘ผู้พิการขาขาด’ ขอรับได้ฟรีที่ รพ.
[/p]
ทั้งนี้ จากการผลักดันเข้าเป็นชุดสิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทอง ก็คาดว่าจะสามารถตอบโจทย์การใช้เท้าเทียมสำหรับผู้พิการขาขาดที่จำเป็นต้องได้รับเท้าเทียมที่มีคุณภาพในประเทศไทยกว่า 5 หมื่นคน เพราะปัจจุบันผู้พิการขาขาด 100 คน จะมีเพียงแค่ 5 คนที่สามารถเข้าถึงเท้าเทียมไดนามิกเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ราคาแพง และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีราคาขายเริ่มต้นประมาณ 8 หมื่น - 1.2 แสนบาท
ส่วนคนพิการอีก 95 คน จะได้รับเท้าเทียมที่เป็นชุดสิทธิประโยชน์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแทน ซึ่งแต่เดิมจะมี 2 รุ่น คือ เท้าเทียมไม้ (Sach foot) ที่ใช้ไม้เป็นวัสดุขึ้นรูปทรงเท้าหุ้มด้วยยาง และมีแกนต่อเข้ากับแกนหน้าแข้งของคนพิการ แต่ข้อจำกัดคือ มีน้ำหนักมาก และขยับข้อเท้าไม่ได้ ขณะที่อีกรุ่นคือ เท้าเทียมข้อเท้าแกนเดียว (Single-axis) ที่ตัวรูปทรงเท้าผลิตจากไม้เช่นกัน แต่จะมีข้อต่อบริเวณเท้าเทียมที่ขยับได้เล็กน้อย ซึ่งเป็นรุ่นที่ดีกว่ารุ่นเดิม แต่ก็ยังไม่สะดวกต่อคนพิการในการใช้งาน เนื่องจากวัสดุเป็นไม้ มีน้ำหนักค่อนข้างมาก และขยับข้อเท้าได้เพียงเล็กน้อย
รศ.ดร.ไพรัช กล่าวอีกว่า เท้าเทียมไดนามิก เอสเพส ที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ หากเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่มีการผลิตเท้าเทียมไดนามิกเหมือนกัน ทั้งในมิติของวัสดุที่ใช้ในการผลิต ฟังก์ชันการใช้งาน พบว่าของประเทศไทยมีราคาถูกกว่ามาก โดยที่ต่างประเทศจะขายอยู่ที่เริ่มต้นชิ้นละ 8 หมื่น - 1 แสนบาท แต่เท้าเทียมไดนามิกเอสเพสที่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ เบิกจ่ายชดเชยกับสำนักงานหลักประกนสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ในอัตราชิ้นละ 2.9 หมื่นบาท หรือถูกกว่าต่างประเทศ 3 - 4 เท่า ซึ่งช่วยลดภาระงบประมาณประเทศไปได้อย่างมาก
‘เท้าเทียมไดนามิก’ ฝีมือคนไทย คุณภาพเท่า ตปท. ‘ผู้พิการขาขาด’ ขอรับได้ฟรีที่ รพ.