ชีวิตแรงงานข้ามชาติพิการ บาดเจ็บจากงานอันตราย ไร้ตัวตน ไร้ระบบรองรับ
[/p]
[b]ปากท้องและความไม่สงบ เหตุผลให้ย้ายถิ่น[/b]
จากข้อมูลของเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ระบุว่า ปัจจุบันแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ที่เข้ามาในไทยมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เมียนมา ลาว และกัมพูชา 90 % เป็นชาวเมียนมาจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น พม่า คะฉิ่น มอญ ทวาย ไทยใหญ่ กระเหรี่ยง ปะโอ ลาหู่ อาข่า ฯลฯ โดยเข้ามาทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ดี ทุกกลุ่มมีความหวังร่วมก็คือต้องการการยกระดับคุณภาพชีวิต แต่ก็ยังไม่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากแม้จะมีกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึงเมื่อเทียบกับแรงงานไทย
จากสถิติของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 พบว่า มีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในไทยจำนวนทั้งสิ้น 3,350,969 คน โดยอยู่ในมาตรา 62 ส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายอื่นๆ จำนวน 59,801 คน มาตรา 63/1 ชนกลุ่มน้อย จำนวน 93,839 คน มาตรา 63/2 มติ ครม. 7 กุมภาพันธุ์ 2566 จำนวน 1,578,828 คน มติ ครม. 3 ตุลาคม 2566 จำนวน 813,869 คน และมาตรา 64 คนต่างด้าวที่เขามาทำงาน ไป-กลับจำนวน 39,711 คน
ปัญหาของสวัสดิการที่ไม่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้แรงงามข้ามชาติหลายคนเผชิญกับความยากลำบากในการใช้ชีวิตในไทย
เช่นเดียวกับ ทองคำ เจ้าหน้าที่ของ MAP Foundation เธอเป็นคนหนึ่งที่เข้ามาในไทยด้วยช่องทางธรรมชาติเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว ในตอนนั้นเธอใช้วิธีการเดินเท้าพร้อมกับม้าที่แบกสัมภาระต่างๆ เวลานอนก็ใช้ใบไม้ปู หลังจากถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน เธอก็ไปรับจ้างเกี่ยวข้าว และย้ายไปทำงานบ้าน อยู่ได้สักพักภาครัฐก็มีนโยบายทำบัตรพื้นที่สูงของกลุ่มชาติพันธ์
“บัตรพื้นที่สูงหรือบัตรชมพูจะเขียนว่าไม่ใช่คนไทย แต่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ทำที่ไหนก็ต้องอยู่ที่นั่น เมื่อก่อนจะออกนอกเขตพื้นที่ไม่ได้ หรือถ้าจะออกต้องไปขอใบออกนอกพื้นที่ทุกครั้ง
“ตอนเข้ามาแรกๆ ยังไม่ได้ภาษา ก็อาศัยการดูละคร จำคำพูดที่ซ้ำๆ ช่วงหนึ่งเราตกงานก็เลยกลับบ้าน กลับมาใหม่โดนหลอกไปขายที่สวนสัปปะรด จังหวัดประจวบฯ ตอนนั้น มีผู้ใหญ่ 60 คน เด็ก 5 คน ไปรถทัวร์ เราไม่มีเพื่อน ไม่พูดกับใคร พอไปถึงบ้านเจ้านายปรากฏว่าไม่มีอะไรเลย ต้องไปซื้อเองหมด ทั้งหม้อข้าว ผ้าใบ เสื่อ เช้าเย็นก็เก็บผักบุ้งกิน วันเสาร์ก็ได้ไปจับปลากิน กินแต่ปลากับผักบุ้ง อยู่มาสิบกว่าวันถึงได้รู้ว่าถูกเอามาขาย
ชีวิตแรงงานข้ามชาติพิการ บาดเจ็บจากงานอันตราย ไร้ตัวตน ไร้ระบบรองรับ