“ตาเปี๊ยก-ยายแป๊ว” แม้โรคภัยรุมเร้า ต้องสู้ทำงานหาเลี้ยงลูกพิการและหลานวัยเรียนอีก 2 ชีวิต!
[/p]
“เช้าก็เช็ดตัว ประแป้งให้ ใส่แพมเพิสให้ ป้อนข้าว แต่เช้าไม่ค่อยกินข้าว กินนม (ถาม-เคี้ยวเองได้ไหม?) ต้องกินของเหลวๆ เคี้ยวแข็งไม่ได้ (ถาม-ตอนที่เบิร์ดคลอดมาใหม่ ตายายทำงานอะไร?) ตอนนั้นตาเขาไปทำงานรับจ้างขับรถ ทำอู่ ยายก็เลี้ยง ถ้าเราอยู่ เขาก็ต้องไปทำงาน ถ้าเขาอยู่ เราก็ต้องไป ผลัดกัน ทิ้งไม่ได้”
นอกจากต้องดูแลลูกคนสุดท้องแล้ว ยายแป๊วและตาเปี๊ยกยังต้องดูแล “น้องเบียร์” หลานชายวัย 11 ขวบ ที่ลูกสาวคนโตทิ้งไว้ให้เลี้ยงตั้งแต่ยังเล็ก หลังไปมีครอบครัวใหม่ โดยไม่เคยกลับมาเยี่ยมอีกเลย
“เขาแยกทางกันไปหมด เขาก็ไปมีแฟนกันหมด ไม่ได้มาเลย พ่อมันติดยา ก็เลิกกันไป เลิกกันนานหลายปีแล้ว (ถาม-แม่เขาส่งเสียไหม?) นานๆ จะให้สัก 500 หรือ 1,000”
ขณะที่ “น้อยหน่า” วัย 7 ขวบ แม้ไม่ใช่หลานแท้ๆ แต่ยายแป๊วและตาเปี๊ยกก็รับเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็ก หลังน้องถูกพ่อแม่ทอดทิ้งไป
“(ถาม-รับน้องน้อยหน่ามาเลี้ยงได้ยังไง?) เขามาติดต่อถาม จะจ้างเลี้ยงเด็ก เลี้ยงไหม ก็เลยเลี้ยงไว้ (ถาม-มาตอนนั้นอายุกี่ขวบ?) เดือนเดียวเอง มาให้ไว้ เขาหาเลี้ยง ก็เลยเลี้ยงไง (ถาม-พ่อแม่ของน้องเป็นใคร?) เขายังไงไม่รู้ บอกไม่ถูก ตอนนั้นเขาก็มาดี พอนั่นไม่เคยติดต่อเลย (ถาม-เป็นคนในพื้นที่เราไหม?) ไม่ใช่ แถวอื่น แต่ก่อนเขาเช่าหออยู่นี่ไง เดี๋ยวนี้เขาก็ไปไหนแล้วไม่รู้ (ถาม-ได้มาเท่าไหร่ตอนนั้น?) 4,000 แค่นั้น”
ทั้งเบียร์และน้อยหน่ารู้ดีว่า ตาเปี๊ยกและยายแป๊วต้องเหนื่อยกับการทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว น้องทั้งสองจึงไม่เพียงช่วยงานบ้านที่พอช่วยได้ แต่ยังออกเก็บขวดไว้ขายช่วยตายายหารายได้อีกทาง
ปัจจุบัน ตาเปี๊ยกหาเลี้ยงครอบครัวด้วยอาชีพที่ถนัดคือ ช่างเคาะพ่นสีรถให้กับอู่ใกล้บ้าน แต่เพราะโรคหอบที่รุมเร้า ทำให้ตาทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้รายได้ลดลงตามไปด้วย
“ตาเปี๊ยก-ยายแป๊ว” แม้โรคภัยรุมเร้า ต้องสู้ทำงานหาเลี้ยงลูกพิการและหลานวัยเรียนอีก 2 ชีวิต!