View Share Farm พลิกชีวิตผู้พิการ สู่วิสาหกิจต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ
[/p]
[b]จากฟาร์มธรรมดาสู่ฟาร์มอัจฉริยะ[/b]
ในวันเริ่มต้น พวกเขามีเพียงพื้นที่ 20 ไร่ จากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และเลือกปลูกข่าเหลืองเป็นอาชีพแรก “ต้นข่ากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเรา” พงษ์เทพ เล่าพร้อมรอยยิ้ม โลโก้ของกลุ่มเป็นรูปต้นข่า และชื่อ View Share Farm ก็มีที่มาจากคำพ้องเสียงของคำว่า "วิลแชร์"
ทว่าสิ่งที่ทำให้ฟาร์มนี้แตกต่าง คือการนำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี มาช่วยยกระดับการเกษตร จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว สู่การเกษตรแบบผสมผสาน ด้วยการติดตั้งโรงเรือนอัจฉริยะ ใช้ระบบ IoT และพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตเอง ไม่เพียงใช้ภายในฟาร์มเท่านั้น แต่ยังจำหน่ายให้การไฟฟ้า สร้างรายได้เพิ่มเติม
[b]การสนับสนุนที่ช่วยเปลี่ยนแปลง[/b]
ปี 2564 วิสาหกิจชุมชนได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ด้วยงบประมาณ 100,000 บาท พร้อมกับเงินลงทุนของกลุ่มอีก 100,000 บาท พวกเขาเริ่มสร้างโรงเรือนขนาด 6x12 เมตร จำนวน 2 โรงเรือน เพื่อปลูกเมล่อนสายพันธุ์ Golden Pink ที่ให้ผลผลิตลูกใหญ่และมีคุณภาพดี สามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละสองครั้ง รวมกว่า 175 ลูก ขายได้ราคากิโลกรัมละ 90 บาท รายได้นี้ช่วยเสริมความมั่นคงให้กับสมาชิกในกลุ่มอย่างชัดเจน
ระบบโรงเรือนอัจฉริยะและตู้ควบคุมระบบน้ำ ช่วยลดการสูญเสียผลผลิตถึง 70% ขณะที่พลังงานจากโซล่ารูฟท็อปยังช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานได้อีก
[b]จากฟาร์มสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร[/b]
ความสำเร็จของ @View Share Farm ไม่ได้หยุดเพียงแค่การเกษตร พวกเขายังพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรครบวงจร มีบริการห้องพักในบรรยากาศธรรมชาติ ราคาเริ่มต้นคืนละ 1,700 บาท พร้อมทั้งผลิตน้ำดื่ม RO เพื่อใช้และจำหน่ายในชุมชน
ดีป้ายังสนับสนุนแพลตฟอร์มจัดการระบบโฮมสเตย์ ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการจองและชำระเงิน ทำให้การจัดการธุรกิจของกลุ่มมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
View Share Farm พลิกชีวิตผู้พิการ สู่วิสาหกิจต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ