ฝีมือนักวิจัยไทย! “มือเทียมกลสวมแขนสั่งการหยิบจับได้ด้วยสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ” สิ่งประดิษฐ์เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้พิการ
[/p]
[b]“หุ่นยนต์ต้นแบบมือเทียมกลสวมแขนสำหรับคนพิการแขนขาดบริเวณกึ่งกลางปลายแขนโดยใช้สัญญาณอิเล็กโทรมิโอแกรมและเทคนิคปัญญาประดิษฐ์”[/b] หนึ่งในความก้าวหน้าของการพัฒนา “มือเทียมกล” เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีความพิการทางมือ ที่ได้รับผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว การใช้ชีวิตและประกอบอาชีพต่างๆ และยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ โดยผลงานสิ่งประดิษฐ์นี้ เป็นของนักวิจัยไทยทีได้รับรางวัล JDIE Grand Award ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของงานจากงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติในเวที Japan Design, Idea and Invention Expo 2024 และ เหรียญทองจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ณ Tokyo Ariake Garden Convention Center กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา
[b]ดร.ฐิตาภรณ์ กนกรัตน อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)[/b] ในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า งานวิจัยนี้เริ่มพัฒนาขึ้นมาเมื่อปี 2566 มีเป้าหมายเบื้องต้นคือ การนำองค์ความรู้ด้าน Internet of Things (IoT), Machine Learning (การเรียนรู้ด้วยเครื่อง) และ AI (ปัญญาประดิษฐ์) มาสร้าง “หุ่นยนต์ต้นแบบมือเทียมกลสวมแขน” ที่จะทำให้คนพิการที่แขนขาดตั้งแต่ใต้ข้อศอกลงไป มีอวัยวะเทียมที่ช่วยในการหยิบ จับ สิ่งของได้ ช่วยให้ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ใกล้เคียงกับมือจริงๆ โดยใช้ “สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ”
ฝีมือนักวิจัยไทย! “มือเทียมกลสวมแขนสั่งการหยิบจับได้ด้วยสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ” สิ่งประดิษฐ์เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้พิการ