‘Arm Booster’ นวัตกรรมธรรมศาสตร์ ‘ลดความพิการ’ อุปกรณ์ ‘ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ’
[/p]
แน่นอนว่า “Arm Booster” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาตอบโจทย์ในเรื่องนี้
Arm Booster คือนวัตกรรมที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อผ่านการกายภาพที่มีคุณภาพ ซึ่งแม้ว่าชื่อเต็มๆ ของนวัตกรรมจะเจาะจงไปที่ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ทว่าในความเป็นจริงแล้ว Arm Booster มีประโยชน์และตอบโจทย์ผู้สูงอายุทุกคน นั่นเพราะปัจจุบัน นวัตกรรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุมีไม่มาก
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (พบมากในผู้สูงอายุ) ที่มีอยู่ประมาณปีละ 2.5 แสนราย และในจำนวนนี้กว่า 70% มีความพิการหลงเหลืออยู่ จำเป็นต้องได้รับการกายภาพบำบัดฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องนั้น Arm Booster จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตได้ทันที
หลักการทำงานของ Arm Booster คือการใช้แขนข้างที่ดีไปออกกำลังแขนข้างที่ไม่ดี ผ่านกลไกการออกแบบลักษณะพิเศษ ที่สามารถทำให้แขนของผู้ใช้นวัตกรรมสามารถขยับได้หลากหลายทิศทาง ทั้งการยืดแขนไปด้านหน้า (Y-Direction) ยกแขนด้านบน (Z-Direction) และกางแขนด้านข้าง (X-Direction) โดยนวัตกรรมจะติดตั้งระบบเกม เพื่อช่วยดึงดูดให้ผู้ใช้งานเพลิดเพลินและใช้อุปกรณ์ได้นานยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีระบบเซนเซอร์บริเวณมือจับทั้งสองข้างเพื่อรับแรงจากแขนทั้งสองข้าง ประมวลผลด้วย LabVIEW และแสดงผลบริเวณหน้าจอขณะผู้ใช้งานกำลังออกแรง ซึ่งจะช่วยมอนิเตอร์การทำงานได้อย่างเรียลไทม์
Arm Booster ช่วยอุดช่องโหว่ของการกายภาพฟื้นฟูที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นการฝึกแขนข้างที่อ่อนแรงเพียงข้างเดียว ทว่า Arm Booster จะฝึกแขนทั้งสองข้างพร้อมกัน เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้แขนตามปกติ และยังเป็นการเสริมภาพจำการใช้งานของสมอง ตลอดจนเสริมสร้างกล้ามเนื้อแขนจากลำตัวได้อีกด้วย
‘Arm Booster’ นวัตกรรมธรรมศาสตร์ ‘ลดความพิการ’ อุปกรณ์ ‘ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ’