‘พาราลิมปิก’ จากกีฬาบำบัดผู้ป่วยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่มหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลก
[/p]
[b]หลังจาก โอลิมปิก 2024 จบไปเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างให้ความสนใจและยินดีกับผู้ที่คว้าเหรียญรางวัลมาได้ แต่หลังจาก โอลิมปิก ยังมีมหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ‘พาราลิมปิก’ รออยู่ด้วย โดยจะเริ่มการแข่งขันในช่วงวันที่ 28 สิงหาคม - 8 กันยายนนี้[/b]
ปีนี้จะมีนักกีฬาเข้าร่วม พาราลิมปิก ทั้งหมด 4,400 คน จาก 184 ประเทศทั่วโลก มีกีฬาทั้งหมด 22 ประเภท ซึ่งประเทศไทยจะส่งนักกีฬาเข้าร่วม 69 คน จาก 13 ชนิดกีฬา เช่น ยิงธนู กรีฑา และวีลแชร์เรซซิ่ง แบดมินตัน บอคเซีย (กีฬาสำหรับผู้พิการทางสมองเล่นคล้ายเปตอง) จักรยาน พายเรือแคนู วีลแชร์ฟันดาบ ยกน้ำหนัก ยิงปืน ว่ายน้ำ ปิงปอง เทควันโด (ข้อมูลจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ วันที่ 3 ก.ค. 67)
แม้คนไทยจะไม่นิยมชมกีฬาพาราลิมปิกเท่าโอลิมปิกมากนัก แต่พาราลิมปิกครั้งล่าสุดซึ่งจัดขึ้นที่โตเกียว เมื่อปี 2020 นักกีฬาพาราลิมปิกของไทยสามารถกวาดเหรียญทองมาได้ถึง 5 เหรียญ เหรียญเงิน 5 เหรียญ เหรียญทองแดง 8 เหรียญ รวมทั้งหมด 18 เหรียญ และติดอันดับที่ 25 ของโลก
ปัจจุบัน พาราลิมปิก กลายเป็นเกมกีฬาที่กำลังเติบโต และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จากเดิมเป็นเพียงการแข่งขันเล็กๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเพียงไม่กี่คน เป็นคำถามว่าทำไม พาราลิมปิก ถึงกลายมาเป็นเกมการแข่งขันที่โด่งดังไปทั่วโลกได้กันนะ
‘พาราลิมปิก’ จากกีฬาบำบัดผู้ป่วยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่มหกรรมกีฬาคนพิการที่ใหญ่ที่สุดในโลก