นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อผู้สูงวัยและคนพิการ ปฏิวัติคุณภาพชีวิตด้วยไอเดียสร้างสรรค์
[/p]
[b]เปิด 3 ไอเดีย ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ-ผู้สูงอายุ[/b]
บนเวทีรอบสุดท้าย JUMP THAILAND HACKATHON 2024 เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา จิรา พิทักษ์วงศ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) หัวหน้าทีม PATHSENSE เจ้าของโปรเจค PATHSENSE ซึ่งพัฒนา AI เซนเซอร์เพื่อคนตาบอด อธิบายว่า เขาและเพื่อนร่วมทีมสำรวจพบจุดด้อยของ “ไม้เท้าขาว” เครื่องนำทางเพียงหนึ่งเดียวของผู้พิการทางสายตา และต้องการทดแทนการนำทางด้วยนวัตกรรม โดยมี AI เป็นเทคโนโลยีหลัก
“ไม้เท้าจะ Detected อุปสรรคที่อยู่ใต้หัวเข่าเป็นต้นไป และโดยส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่พอที่ไม้เท้าจะไปสัมผัสเจอ แต่ในสภาพความเป็นจริง วัตถุมีหลายสภาพมากว่านั้น และบางครั้งก็ไม่สามารถจำแนกได้ว่าวัตถุที่กีดขวางเคลื่อนที่ไปทางไหน เช่น ไม้เท้าอาจจะไปสัมผัสกับคนที่เดินสวนกันไปมาในที่ชุมชน”
จึงเป็นไอเดียตั้งต้นของการคิดเครื่องมือเพื่อนำทางและสื่อสารกับคนตาบอด ด้วยการออกแบบอุปกรณ์ที่ มีกระเป๋าสะพายซึ่งมีการติดตั้งกล้องซึ่งฝั่งระบบเซ็นเซอร์เข้ากับกล้องเลนส์ Wide ซึ่งมีขนาดกว้าง และจะทำให้ระบบ สามารถตรวจจับสิ่งต่างๆได้ละเอียดขึ้น ทั้ง บันได ประตู กำแพง และอื่นๆ ซึ่งอยู่ด้านหน้าของผู้สวมใส่ แล้วทำการแจ้งแก่ ผู้สวมใส่ผ่านทางหูฟังหรือลำโพงโทรศัพท์ โดยทั้งหมดจะเป็นการทำงานของระบบเซนเซอร์กับ AI ประมวลผล ก่อนจะส่งสัญญาณผ่านเสียงซึ่งใช้ระยะเวลาสั้นเพียง 0.125 วินาทีโดยเฉลี่ย”
“อุปกรณ์มีน้ำหนักเบาและพกพาง่าย สามารถทำงานได้ทั้ง Online และ Offline หากอยู่ในที่อับสัญญาณ ระบบก็จะเปลี่ยนจากการทำงานออนไลน์เป็น Offline โดยมีระยะเวลาประมวลผลเป็น 0.5 วินาที ซึ่งไอเดียนี้ทีมมองว่า เป็นอุปกรณ์ใช้งานได้ตรงกับวิถีชีวิตของผู้พิการทางสายตา ยิ่งเมื่อคำนวนต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2,000-3,000 บาทต่อ 1 ชิ้น ซึ่งสามารถลดน้อยลงได้อีก หากผลิตในจำนวนมากซึ่งเหมาะกับการต่อยอดไปสู่ธุรกิจแบบ B2B ระหว่างองค์กรที่ร่วมระดมทุนในการผลิตกับกลุ่มองค์กรทางสังคมที่ช่วยเหลือคนตาบอด มีอุปกรณ์ช่วยให้พวกเจาดำรงชีวิตอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีได้” “ตัวแทนทีม PATHSENSE ผู้ชนะเลิศ อธิบาย
ไอเดียถัดมาคือโปรเจค Aunity ของทีม AUTISM ซึ่งร่วมตัวนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยพวกเขา โฟกัสกลุ่มออทิสติก ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางด้านพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสาร การเข้าสังคม การมีความสนใจซ้ำ หรือมีรูปแบบการกระทำเป็นแบบแผนจำกัดในเรื่องเดิม
นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อผู้สูงวัยและคนพิการ ปฏิวัติคุณภาพชีวิตด้วยไอเดียสร้างสรรค์