เร่งขยายผลการจ้างงานกระแสหลัก และคนพิการฐานรากมีรายได้พึ่งพาตัวเอง
[/p]
[b]10 ปี นวัตกรรมการจ้างงานคนพิการ ไทยเพิ่มโอกาสจ้างงานเพิ่มปีละกว่า 7,000 คน มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม และ สสส. ร่วมกับสถานประกอบการกว่า 400 แห่ง ทำให้คนพิการฐานรากมีรายได้พึ่งพาตนเอง เป็นพลังของสังคม มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี[/b]
เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567 มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม จัดงาน “10 ปี นวัตกรรมการจ้างงานคนพิการ” โดยมีการสรุปผลความสำเร็จการขับเคลื่อนนวัตกรรมจ้างงานคนพิการและกลไกยั่งยืน โดย ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในบทบาทของ สสส. เราให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นมนุษย์ เราไม่ได้พูดถึงการสงเคราะห์แต่เป็นการส่งเสริมสนับสนุน เพื่อเน้นศักยภาพที่แท้จริงของคนพิการ แนวคิดนี้เป็นหลักใหญ่ใจความที่เราพูดถึงการสร้างเสริมสุขภาพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สสส. มีบทบาทในการส่งเสริมโอกาสการมีงานทำ ในทุกช่วงวัยของคนพิการ ตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยทำงาน โดยปัจจุบันการทำงานร่วมกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม เราสามารถส่งเสริมการจ้างงานได้กว่า 7,000 อัตราต่อปี รวมทั้งหมดของการขับเคลื่อนงานกว่า 10 ปี มีคนพิการเข้าไปทำงานในสถานประกอบการจำนวน 400 แห่ง องค์กรสาธารณประโยชน์กว่า 2,000 แห่ง รวมทั้งสิ้น 50,000 โอกาสงาน มีคนพิการทุกประเภทความพิการ ทุกพื้นที่ ทุกระดับการศึกษา เป็นเม็ดเงินที่ตกถึงมือคนพิการโดยตรงกว่า 5,500 ล้านบาท
สำหรับการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม หรือ SROI (Social return on investment) ประเมินโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในปี 2564 ระบุว่าการใช้งบประมาณเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมการจ้างงานคนพิการเชิงสังคมนี้ ให้ผลตอบแทนทางสังคมกว่า 10.6 เท่า คนพิการที่ได้รับการจ้างงานมีสุขภาวะดีขึ้น ผ่านกิจกรรม 70 วันมหัศจรรย์ของฉัน พบว่า 80% ของคนพิการที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 4 ด้าน คือ ออกกำลังกาย ลดหวาน ทานผักผลไม้ และดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว พร้อมทั้งมีคนพิการบางส่วน ที่สามารถลดการสูบบุหรี่และการดื่มสุราลงได้
“ขอชื่นชมในการทำงานของภาคีเครือข่ายที่ให้โอกาสการมีงานทำของคนพิการ และตัวคนพิการเอง ที่เตรียมความพร้อมและหมั่นพัฒนาศักยภาพในมิติต่าง ๆ ขอบคุณกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมต่อการขับเคลื่อนเรื่องราวต่าง ๆ ที่ว่านี้ให้ขึ้นจริงในสังคม”
ภรณี ภู่ประเสริฐ
สำหรับโครงการ 70 วันมหัศจรรย์ของฉัน มีการดำเนินงานแล้ว 3 ปี 9 ซีซัน มีคนพิการสมัครเข้าร่วมโครงการ ซีซันละ 1,200 คน ซึ่งมีส่วนร่วมสำคัญในการเปลี่ยนคนพิการให้ปากท้องดี มีศักดิ์ศรี มีพลังออกไปทำอะไรดี ๆ เพื่อสังคมต่อไป
เร่งขยายผลการจ้างงานกระแสหลัก และคนพิการฐานรากมีรายได้พึ่งพาตัวเอง