“ทำไม ความพิการในประเทศไทยถึงต้องมีวันหมดอายุ”
[/p]
เมื่อมาดูที่คำอธิบายของ “กรมบัญชีกลาง” ซึ่งระบุถึงสาเหตุที่ทำให้นายมณฑล ถูกระงับการจ่ายเบี้ยคนพิการไปตั้งแต่ปี 2563 คือ เขาได้รับสิทธิมาตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2563 และถูกระงับการรับเบี้ยไปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เพราะพบว่ามีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง ซึ่งไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ ได้ จึงทำให้ระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e - Social Welfare) ของกรมบัญชีกลาง ระงับการจ่ายเงินโดยอัตโนมัติ และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นมา กรมบัญชีกลางก็ไม่ได้รับแจ้งข้อมูลการขอเบิกเงินเบี้ยความพิการนายมลฑล เข้ามาจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องส่งข้อมูล
ส่วนคำชี้แจงจากพัฒนาสังคม จ.สุโขทัย ระบุว่า นายมณฑล จดทะเบียนคนพิการเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2558 หมดอายุวันที่ 9 มิ.ย. 2566 และยังไม่ได้ต่ออายุ (ครบ 8 ปี) ต่อมาพบว่า เขามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2563 และตรวจพบว่ามีหมายจับคดีอาญา จึงถูกตัดสิทธิการรับเบี้ยความพิการเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 256
นลัทพร เห็นว่า แม้คำอธิบายของทั้ง 2 หน่วยงานจะมีคำตอบถึงสาเหตุที่ทำให้นายมณฑล ถูกระงับสิทธิไป แต่ก็ยิ่งทำให้มีคำถามต่อระบบระเบียบการทำงานกับคนพิการว่าควรจะต้องปรับปรุงหรือไม่
“กรณีของนายมณฑล เราพยายายามเข้าใจสิ่งที่เจ้าหน้าที่อธิบายว่า เกิดจากการที่เขาย้ายที่อยู่ไปมาหลายครั้ง และอาจมีปัญหา มีคดีติดตัว จนชื่อตกหล่นไปอยู่ที่ทะเบียนบ้านกลาง แต่ก็ยังสงสัยว่า ทำไมการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ จึงทำให้สิทธิการรับเบี้ยคนพิการหายไปด้วย
ในระเบียบเขียนว่า เมื่อชื่อไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะต้องถูกตัดสิทธิ ซึ่งอาจเข้าใจประเด็นนี้ได้ แต่ที่ยังต้องตั้งคำถาม คือ ทำไมหน่วยงานในท้องถิ่น ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่กลับผลักภาระให้คนพิการต้องเดินทางมาติดต่อที่ส่วนกลางด้วยตัวเอง
จึงเป็นประเด็นที่ต้องการคำอธิบายจากหน่วยงานรัฐว่า ระเบียบต่างๆเป็นอย่างไร มีอุปสรรคอะไรที่ทำให้เกิดความยุ่งยากต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นหรือไม่ มีแนวทางแก้ไขที่สามารถมาออกแบบกันใหม่ได้หรือไม่ และหากปล่อยไว้เช่นนี้ อาจเป็นช่องโหว่ทำให้สิทธิอื่นๆ ของคนพิการตกหล่นหรือหายไปด้วย เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง
“ทำไม ความพิการในประเทศไทยถึงต้องมีวันหมดอายุ”