การมีส่วนร่วม เพื่อโลกที่เท่าเทียมของคนตาบอด
[/p]
[b]แม้ว่าสังคมไทยจะตระหนักถึงการให้ความสำคัญในการดูแล และพร้อมช่วยเหลือผู้พิการ แต่ดูเหมือนว่าสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ตั้งแต่บริการสาธารณะ สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ยังไม่สะดวกเท่าที่ควร นอกจากไม่ได้มาตรฐาน ยังไม่เพียงพอต่อการใช้บริการ ที่สำคัญคือบางบริการมีข้อจำกัด เพราะสร้างเงื่อนไขการใช้งานโดยไม่จำเป็น ทำให้ผู้พิการจำนวนมากต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง ทั้งที่สามารถดูแลตัวเองได้ หากสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานนั้นมีความพร้อม[/b]
ปัญหานี้ไม่อาจเพิกเฉยได้อีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่แน่นอนว่าตัวเลขผู้พิการในกลุ่มผู้สูงอายุก็จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยข้อมูลล่าสุดของ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวบรวมจำนวนผู้พิการ จากฐานข้อมูลที่ผู้พิการมาทำบัตรประจำตัวคนพิการในประเทศไทย ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2566 พบว่ามีมากถึง 2,240,537 คน และจำนวนกว่าครึ่งหรือกว่า 1 ล้านคนเป็นผู้สูงวัย ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
สำหรับประเภทของคนพิการนั้น อันดับ 1 คือ ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวร่างกาย จำนวน 1,155,339 คน รองลงมาคือ ผู้พิการทางการได้ยินจำนวน 415,999 คน และอันดับ 3 คือ ผู้พิการทางการมองเห็น 184,542 คน ส่วนผู้พิการประเภทอื่นๆ ยังมี เช่น ผู้พิการทางจิตใจ ผู้พิการทางสติปัญญา ผู้พิการทางการเรียนรู้ เป็นต้น
[b]เรื่องราวของคนพิการในประเทศไทยนี้ สุนทร สุขชา เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายและสิทธิมนุษยชน สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ได้บอกเล่ากับไทยรัฐออนไลน์ ที่ยังทำให้เห็นว่า ประเด็นปัญหาที่ผู้พิการต้องเผชิญนั้น หลายเรื่องถูกเรียกร้องมาอย่างยาวนาน และยังคงอยู่อย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้พิการในการมองเห็น[/b]
การมีส่วนร่วม เพื่อโลกที่เท่าเทียมของคนตาบอด