ฝ่าระเบียบและปัญหาสารพันในการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ (ตอนจบ)
[/p]
[b]เพื่อที่จะทำให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตอยู่ในที่พักอาศัยได้อย่างสะดวกสบายตามอัตภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะระบบราชการไทยมีระเบียบต่างๆมากมายที่กลายเป็นอุปสรรคกีดกันไม่ให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับสิทธิ ผู้ที่ทำงานในแวดวงนี้ต้องต่อสู้ พลิกแพลง ปรับแนวทางและประสานความร่วมจากหลายฝ่าย[/b]
ในทางนโยบายระดับชาตินั้น วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ว่า ทางรัฐบาลพยายามจะหางบประมาณเพื่อเพิ่มวงเงินสำหรับการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้พิการให้ได้ 100,000 บาทต่อครอบครัว เพื่อให้เพียงพอ รวมถึงอยากจะหาเงินเพื่อให้ผู้พิการได้ใช้จ่ายซื้อสิ่งของจำเป็นอีกเดือนละ 2,000 บาท แถมยังจะมีค่าอุปการะผู้พิการอีกด้วย
ในระดับปฏิบัติ ผ่องศรี หิรัญบริรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการคนพิการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ปี 2565 แล้วได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 2,300,000 บาท ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3,600,000 บาท แต่ยังไม่พอเพียงเพราะจังหวัดสุรินทร์มีประชากรพิการเป็นจำนวนมาก ที่ต้องการปรับบ้านใน ปี2566 นี้ได้รับรายชื่อมาทั้งหมด 90 หลัง เกินจำนวนงบปีก็มีอยู่
สำหรับงบประมาณ 40,000 บาทต่อครอบครัวนั้นคงไม่เพียงพอ เนื่องจากค่าวัสดุอุปกรณ์ที่แพงขึ้น ค่าแรงช่างที่เพิ่มขึ้น ผ่องศรี กล่าวว่า ถ้าจะให้ได้บ้านที่ปลอดภัย เหมาะสม และอำนวยความสะดวกให้สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเอง และต้องเพิ่มงบประมาณต่อหลัง ขั้นต่ำ 70,000 และไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหลัง
[b]นอกจากงบประมาณแล้ว ปัญหาอีกประการหนึ่งซึ่งพบมาคือ คนพิการที่ต้องการรับสิทธิ์ในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยไม่มีเอกสารสิทธิในที่ซึ่งอาคารเหล่านั้นปลูกสร้างอยู่ ผ่องศรี บอกว่า ปัญหานี้อาจจะสามารถยืดหยุ่นได้บ้าง หากว่าได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินที่ถือเอกสารสิทธินั้นอยู่[/b]
“ถ้าคนพิการไม่มีโฉนดเป็นของตัวเอง แต่ของคนในครอบครัวของญาติพี่น้อง แล้วอยากปรับปรุงที่อยู่อาศัยตรงนี้ ทางออกของกระทรวงคือให้คนที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เอาเอกสารรับรอง เขาเรียกว่าหนังสือยินยอมให้ปรับปรุงบ้านมีแบบฟอร์มยินยอมให้เจ้าของที่เจ้าของโฉนดยินยอมให้คนพิการได้รับสิทธิ์ในการปรับบ้านให้เข้าอยู่อาศัยได้” ผ่องศรี กล่าว
“แต่อาจจะมีปัญหาอีกว่า วันนี้ยอมให้ปรับบ้าน ต่อมาไม่กี่เดือนอยากเอาที่คืน ก็เป็นปัญหาต่อคนพิการถ้าแก้ไม่ถูกจุดปัญหาคือกลายเป็นการสร้างบ้านให้คนอื่น ต้องมีหนังสือยินยอมต้องคุยกัน ต้องให้คนพิการได้อยู่ตรงนี้เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ก็ว่าไป” ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าว
แต่ถ้าเป็นการใช้ที่ดินทับซ้อนกับที่สาธารณะจะแก้ไขค่อนข้างยากทางศูนย์ได้คำแนะนำว่าก็ต้องได้รับความยินยอมจากพื้นที่ อบต. เป็นรายกรณี บางทีเป็นสิทธิทับซ้อนเป็นกรณีพิพาทก็ยากต้องดูว่าพื้นที่ทับซ้อนหน่วยไหนกับหน่วยไหนบ้าง ต้องปรึกษาทางด้านกฎหมายกับเจ้าหน้าที่กฎหมายของกลุ่มอีกที ต้องหารือไปที่ส่วนกลางว่าสามารถทำได้หรือไม่
[b]เมื่อพิการ, ทำอย่างไรบ้านจึงจะน่าอยู่[/b]
ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับคนพิการจังหวัดสุรินทร์
• เขตปกครอง 17 อำเภอ
• ผู้พิการทั้งสิ้น 64,253 ราย (4.68 %ของประชากรทั้งจังหวัด)
• หญิง 33,491 ราย
• ชาย 30,762 ราย
• พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 33,099 ราย (จำนวนไม่น้อยสูงวัยและมีโรคประจำตัวด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงหรือต้องนอนติดเตียง
• พิการทางการมองเห็น 11,038 ราย
• พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 8,189 ราย
• พิการประเภทอื่นอีก 11,927 ราย
ฝ่าระเบียบและปัญหาสารพันในการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ (ตอนจบ)