สส.ก้าวไกล ร่วมกิจกรรม “Create an Inclusive Society” เนื่องในวันคนพิการสากล
[/p]
ในด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและอาคารของหน่วยงานรัฐ ศนิวารเสนอว่า ต่อจากนี้ ภาครัฐต้องกำหนด TOR ให้รองรับอารยสถาปัตย์ (Universal Design) และควรอนุมัติเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการไปปรับปรุงโครงสร้างและอาคารเดิมให้เป็นอารยสถาปัตย์ด้วย นอกจากนี้ การจัดทำนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐต่อจากนี้ควรให้คนพิการเข้าไปมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น เพื่อสร้างนโยบายที่โอบรับความหลากหลายของทุกคนในสังคม
[b]ในด้านการศึกษา พิมพ์กาญจน์เสนอว่า ปัจจุบันคนพิการเข้าถึงระบบการศึกษาได้ยากลำบาก เพราะมีโรงเรียนที่พร้อมรองรับน้อย โดยจากโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 437 แห่ง มีเพียง 158 แห่งเท่านั้นที่มีครูการศึกษาพิเศษ และในระดับประเทศมีนักเรียนที่มีความพิการและต้องการช่วยเหลือพิเศษถึง 300,000 คน แต่กลับมีครูการศึกษาพิเศษที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเพียง 7,000 คน[/b]
พิมพ์กาญจน์ยกตัวอย่างสถิติเกี่ยวกับการเข้าถึงการศึกษาของคนพิการ โดยระบุว่า มีเด็กพิการกว่าร้อยละ 80 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา แต่เมื่อขึ้นระดับมัธยมศึกษาจะเหลือเด็กพิการเพียงร้อยละ 11 เท่านั้น และมีเพียงร้อยละ 1 ที่เข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งทั้งหมดนี้มาจากปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเดินทางไปเรียน ปัญหาด้านค่าใช้จ่าย ไปจนถึงความไม่พร้อมของโรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษา จนกลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำที่สร้างบาดแผลและผลกระทบให้กับนักเรียนที่มีความพิการ
สส.ก้าวไกล ร่วมกิจกรรม “Create an Inclusive Society” เนื่องในวันคนพิการสากล