สานพลังภาคีฯ สร้างแนวคิด 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เสริมพัฒนาการเรียนรู้เด็กพิเศษร่วมกับครอบครัว
[/p]
กลุ่ม wearehappy องค์กรสาธารณประโยชน์ ร่วมกับ มูลนิธิขวัญชุมชน และศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้ โครงการมหัศจรรย์นิเวศ 3 ดีเพื่อเด็กปฐมวัย สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ใช้แนวคิด 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ เพื่อสนับสนุนให้เด็กพิเศษมีศักยภาพและเกิดการพัฒนาสมรรถนะที่สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้
[b]แนวคิด 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เพื่อทำให้เกิดเป็นนิเวศสามดีที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาเด็กพิเศษร่วมกับครอบครัว[/b] โดย นางสุภาพร ทองสุข มูลนิธิขวัญชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการฯ และ นายเชาวลิต สุรัติมงคล ครู ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ หน่วยบริการอำเภอคูเมือง เริ่มจากการชวนให้ผู้ปกครองและครอบครัวของเด็กพิเศษมาช่วยกันสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ หรือ “สนาม 3 ดีเพื่อเด็กพิการ” ที่หน่วยบริการอำเภอคูเมือง และมีนักกายภาพมาช่วยประเมินและออกแบบอุปกรณ์ของเล่น เช่น ทางเดินเพื่อพัฒนาระบบประสาทรับสัมผัสของร่างกาย(Sensory) กรวด ทราย พรมหญ้า หินคลุก และมีการจัดกิจกรรมพาฝึกเดิน ชิงช้าสำหรับเด็กตัวโตและเด็กตัวเล็ก กองทราย อุปกรณ์ห้อยโหนและปีนป่าย ฯลฯ จัดเวลาให้เด็กพิการได้เล่นทุกวันอย่างน้อย 15 นาทีช่วงก่อนกลับบ้าน เพื่อพัฒนาระบบประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวและสมดุล (Vestibular or Movement and Balance Sense) เป็นส่วนที่รับรู้ผ่านระบบประสาทที่อยู่ในหูชั้นใน เกิดการรักษาสมดุลของร่างกายเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทางหรือเคลื่อนไหวร่างกาย
[b]เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นหรือออทิสติกหากได้พัฒนาระบบประสาทรับสัมผัส Sensory integration หรือ SI[/b] จะช่วยให้พฤติกรรมชอบสะบัดมือ ชอบเล่นกระแทกแรงๆ ไม่นิ่ง กลัวเสียงดัง กลัวผิวสัมผัสบางชนิด ไม่ชอบให้ตัวเองมือเลอะ ไม่ชอบให้กอดหอม ทำอะไรช้า งุ่มง่าม ดูเก้งก้างเวลาเคลื่อนไหว หรือความรู้สึกเฉื่อยมากเกินไป ดูซึมๆ นิ่งๆ หรือดูง่วงนอนตลอดเวลา การพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึกและสั่งให้ร่างกายแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ดีขึ้น ทั้งการสัมผัส การมองเห็น การได้กลิ่น การได้ยิน และการรับรส การเคลื่อนไหวและการทรงตัว การรับรู้กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ มูลนิธิขวัญชุมชน และ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ หน่วยบริการอำเภอคูเมือง มีการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเด็กพิเศษ เพื่อทำความเข้าใจกับครอบครัวในการจัดภาพแวดล้อมของบ้านให้มีมุมต่าง ๆ เช่น มุมของเล่น มุมศิลปะวาดรูประบายสี มุมหนังสือนิทาน ฯลฯ มุมต่าง ๆ ในบ้าน และสามารถทำกิจกรรมร่วมกับลูกได้ง่ายๆ ที่บ้านผ่าน งานครัว งานบ้าน งานสวน และอื่นๆ
[b]ครอบครัวเป็นนิเวศที่ใกล้ชิดเด็กพิการที่สุด[/b] หาก พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ผู้ดูแลเด็กพิการ มีความเข้าใจพัฒนาการและอาการติดขัดของลูก เด็กพิเศษควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาไม่แตกต่างจากเด็กทั่วไป การเปลี่ยนวิธีคิด หรือ mindset ของพ่อแม่ต่อความพิการของลูกใหม่ “คนพิการสามารถฟื้นฟูศักยภาพและสมรรถนะได้” บทบาทสำคัญของพ่อแม่ คือ การสนับสนุนให้ลูกพิการมีศักยภาพและเกิดการพัฒนาสมรรถนะที่สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ นิเวศสามดีของเด็กพิการต้องพัฒนาไปตามลำดับตั้งแต่ ครอบครัว ตัวเด็ก ครู และการมีส่วนร่วมของชุมชน
สานพลังภาคีฯ สร้างแนวคิด 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เสริมพัฒนาการเรียนรู้เด็กพิเศษร่วมกับครอบครัว