สสส. หนุนนวัตกรรมสร้างอาชีพ เสริมกิจกรรมสร้างสุข ปลุกพลังผู้พิการเชียงใหม่
[/p]
[b]สานพลังหนุนนวัตกรรมสร้างอาชีพกับกิจกรรม "วันสร้างสุข เสริมสร้างสุขภาวะสำหรับผู้พิการเชียงใหม่" ภายใต้โครงการการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับผู้พิการผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์[/b]
เมื่อบรรทัดฐานสังคมไทยเชื่อว่า "ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน" สะท้อนถึงการยอมรับในคุณค่าของมนุษย์ด้วยการทำงาน "ผู้พิการ" ก็คงรู้สึกเช่นเดียวกัน เมื่องานคือเครื่องมือวัด "ความสุข" พวกเขาเองก็อยากถูกวัดคุณค่าด้วย "ความสามารถ" ผ่านการมีหน้าที่การงานไม่ต่างจากคนทั่วไป งานคือส่วนเสริมสถานภาพ "ความเป็นมนุษย์คนหนึ่ง" ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมและสะท้อนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน
[b]วันสร้างสุขผู้พิการเชียงใหม่[/b]
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้พิการวัยทำงาน ที่อายุระหว่าง 15-60 ปี เพียง 27% เท่านั้นที่มีงานทำ แต่อีกกว่า 56% หรือมากกว่าสี่แสนคนยังไม่มีงาน แม้ว่าผู้พิการบางรายนั้นอาจจะเป็น "หัวหน้าครอบครัว" ก็ตาม
"เชียงใหม่" นับเป็นอีกหัวเมืองสำคัญของภูมิภาคเหนือ ที่กำลังเป็นอีกเมืองสนับสนุนให้ผู้พิการมีโอกาส งาน และมีส่วนร่วมทางสังคมมากขึ้น โดยล่าสุด สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เชียงใหม่ เปิดงาน "วันสร้างสุข เสริมสร้างสุขภาวะสำหรับคนพิการเชียงใหม่" ภายใต้โครงการการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับผู้พิการผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
[b]จิราพร เชาวน์ประยูร ยามาโมโต้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงสถานการณ์ ผู้พิการ ปัจจุบันในจังหวัดเชียงใหม่ว่ามีผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนและได้รับบัตรผู้พิการแล้ว จำนวน 56,339 คน คิดเป็น 3.14% ของประชากรทั้งหมดในจังหวัดมากเป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ[/b]
"จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีผู้พิการมากสุดในภาคเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้พิการสูงอายุ เนื่องจากเชียงใหม่เข้าสู่ สังคมสูงอายุ นอกจากนี้ยังมีผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวจำนวนเยอะสุด รองลงมาเป็นผู้พิการทางด้านการได้ยินและสื่อความหมายและอันดับต่อมาคือผู้พิการด้านจิตใจ แต่สถานการณ์สถิติผู้พิการมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากผู้สูงอายุที่เปลี่ยนเป็นผู้พิการก็มีจำนวนไม่น้อย ปัจจุบันผู้พิการที่ต้องการอาชีพก็มีมากขึ้น อยากให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนการจ้างงาน"
[b]จิราพร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรมในวันนี้ เป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้พิการเข้าถึงกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างเสริมสุขภาวะในทุกมิติ สื่อสารงานเชิงประเด็นต่างๆ ของ สสส. ด้วยการแปลงความรู้ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ผสมผสานรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย นำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน[/b] ซึ่งเป็นไปตามภารกิจของ พมจ.เชียงใหม่ ที่มุ่งสร้างสังคมแห่งความสุขร่วมกัน ปรับเจตคติเปลี่ยนความเชื่อจาก "ผู้พิการเป็นภาระ สู่การเป็นพลัง" จึงพัฒนารูปแบบการดำเนินงานให้ผู้พิการ และครอบครัวเข้าถึงบริการสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ สร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในพื้นที่เพื่อให้ผู้พิการได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม
[b]ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่ม สสส. กล่าวว่า วันสร้างสุข เสริมสร้างสุขภาวะสำหรับผู้พิการ เกิดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้พิการ มีกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น มีผู้พิการเข้าร่วมกว่า 250 คน[/b] เป็นส่วนหนึ่งภายใต้โครงการการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับผู้พิการผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิตในทุกมิติ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ มีทักษะการรู้เท่าทัน ยกสถานะทางสังคมของผู้พิการ และได้แนวคิดแรงบันดาลใจในการปรับทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาวะแก่ผู้พิการ และสังคมรอบข้าง โดยที่ผ่านมา สสส. ให้ความสำคัญกับผู้พิการอย่างต่อเนื่อง มุ่งสนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตทุกมิติ ตั้งแต่ทักษะการทำงาน การดูแลสุขภาพตนเอง การบริหารด้านการเงิน
[b]"หลายปีที่ผ่านมา สสส. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ผู้พิการมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องผ่านรูปแบบต่างๆ อาทิ กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ 70 วันมหัศจรรย์ของฉัน งานวิ่งด้วยกันมีผู้พิการ และคนไม่พิการเข้าร่วมกว่า 3,000 คน เกิดเครือข่ายวิ่งด้วยกันในต่างประเทศ อาทิ[/b] ฮ่องกง และสิงคโปร์ สำหรับกิจกรรม วันสร้างสุข เสริมสร้างสุขภาวะสำหรับคนพิการ มุ่งสู่การสร้างทักษะชีวิต เช่น กิจกรรมค้นหาตัวตน โดยใช้กระบวนการศิลปะบำบัด การใช้สมาร์ตโฟนสร้างอาชีพ โปรโมตสินค้าออนไลน์ ถ่ายภาพ พัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะประจำเดือน เพื่อให้ผู้พิการ และครอบครัวสามารถร่วมเรียนรู้ ร่วมปฏิบัติ สามารถนำไปต่อยอดปรับใช้ในชีวิตของตัวเองได้ โดยจัดไปแล้วรวม 20 ครั้ง มีจำนวนผู้พิการ และครอบครัวเข้าร่วมประมาณ 817 คน" ภรณี กล่าว
สสส. หนุนนวัตกรรมสร้างอาชีพ เสริมกิจกรรมสร้างสุข ปลุกพลังผู้พิการเชียงใหม่