ปากเสียงเพื่อคนหูหนวก “บุ๋ม-สุจิตรา” ทนายผู้ใช้ภาษามือได้ หนึ่งเดียวในประเทศ!!
[/p]
[b]โชคดีที่เรามี Passion ชัดเจนมาตั้งแต่ ม.6 แล้วว่าเราอยากเป็นนักกฎหมาย แล้วเราก็อยากเรียนภาษามือด้วย ปีนั้นทางวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล เขาเปิดรับนักศึกษาที่จะมาเรียนสาขาหูหนวกศึกษา ซึ่งไม่ได้รับทุกปี ต้องรอจังหวะและโอกาส หมายถึงว่ารุ่นนี้เรียน 5 ปีจบถึงรับรุ่นใหม่ เขาไม่ได้รับแบบอยากจะเรียนก็เรียนได้ ปีนั้นเขารับพอดี ก็เลยมาสอบ” [/b]
การได้มาศึกษาต่อในวิชาหูหนวกศึกษา นอกจากจะได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีแล้ว บุ๋มยังได้เรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวัน ร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นที่เป็นคนหูหนวก ก็เรียกได้ว่าเปิดโลกให้เธอให้เธอไม่น้อย
“วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล เขาก็จะปูพื้นฐานเราใหม่เลยตั้งแต่ภาษามือ วัฒนธรรมคนหูหนวก การที่ต้องเรียนวัฒนธรรมคนหูหนวกก่อนเพื่อที่ให้เราเข้าใจคนหูหนวกมากขึ้น ภาษามือ take course เป็นวิชาก็จริง แต่เป็นเรื่องของทฤษฎี ไวยากรณ์ เรื่องของไวยากรณ์ภาษามันมีเหมือนภาษาไทย เราก็ต้องมานั่งเรียนทฤษฎีโครงสร้างไวยากรณ์ภาษามือ
[b]ส่วนการสื่อสาร เขาก็จะให้เราใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับเพื่อนที่เป็นคนหูหนวกด้วยกันในคลาส จะเรียนรวมกันทั้งคนหูหนวก-หูดี กินนอนด้วยกัน เรียนด้วยกัน ทำกิจกรรมด้วยกัน มันก็จะได้เรื่องของการสื่อสารไปในตัว
[ ล่ามภาษามือช่อง 7HD ][/b]
พอเรียนพื้นฐานภาษามือเสร็จ เราก็จะมาต่อในเรื่องของการศึกษาของคนหูหนวก ลงลึกเป็นเรื่องเฉพาะทางว่าการที่เราจะสอนคนหูหนวกซักคนนึง เราจะต้องสอนเขาแบบไหน ซึ่งมันก็แตกต่าง การสอนเด็กพิเศษก็แตกต่างกับสอนเด็กทั่วไป
รุ่นบุ๋มอยู่ที่ประมาณ 30 กว่าคน ถ้าเป็นหลักสูตรหูหนวกศึกษาเรียน 5 ปี พอเรียนจบแล้วเราก็จะได้อีกสาขานึง เราเป็นได้ทั้งล่ามภาษามือด้วย แล้วก็ได้วุฒิครู ได้ใบประกอบวิชาชีพครูด้วย ส่วนใหญ่เพื่อนก็จะมีทั้งเป็นล่ามด้วย แล้วก็เป็นข้าราชการครูด้วย สอนตามโรงเรียนโสตต่างๆ”
อย่างที่เรารู้กันว่ากว่าจะได้ปริญญามาสักใบ ก็หนักหนาสาหัสเอาการแล้ว แต่เธอคนนี้ตัดสินใจที่จะเรียนไปพร้อมกันถึง 2 ใบ เรียนถึงขนาดที่ว่า “ไม่มีช่วงปิดเทอม” กันเลยทีเดียว
“ถามว่าหนักไหม ณ ตอนนั้นเราก็รู้สึกว่าเราแฮปปี้นะคะ เราไม่รู้สึกว่าหนักหนาอะไร แล้วก็มีความสุขกับการเรียนค่ะ (หัวเราะ) ไม่เคยมีปิดเทอม ต้องเข้าใจว่าเราเรียนมหา’ลัยในระบบ พอมหิดลสอบ ปิดเทอม มันก็จะไปตรงกับรามคำแหงสอบ รามคำแหงเขาจะสอบทั้งเดือน พอสอบครบจบ มหิดลก็จะเปิด ฉะนั้นเราก็จะเป็นคนที่ไม่มีปิดเทอม
[b]ในความที่เราอยากเรียนนิติศาสตร์ เราก็ไม่ได้ทิ้ง ก็เลือกที่จะเรียนทั้ง 2 อย่างคู่กันไป ทั้งภาษามือด้วย และนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงไปด้วย ตัดสินใจพร้อมกัน (ยิ้ม)”
ทนายอาสาคนหูดี-หูหนวก[/b]
หลังจบการศึกษาและคว้าใบปริญญามาได้ทั้ง 2 ศาสตร์ ชีวิตก็เข้าสู่โหมดการทำงาน บุ๋มเริ่มต้นจากการเป็นล่ามภาษามืออิสระ ไปพร้อมกับการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านกฎหมาย
“ตอนเรียนจบ จบไม่พร้อมกัน ก็คือจบล่ามภาษามือก่อน พอจบนิติศาสตร์ปุ๊บ เรายังเป็นทนายไม่ได้ ขั้นตอนของทนายความยังมีอีกเยอะ พออยากเป็นทนาย เรียนจบปริญญาตรีไม่พอ ก็ต้องไปฝึกงานเพื่อสอบใบอนุญาตว่าความอีก
พอเรียนจบมาบุ๋มเลือกเป็นล่าม เราไม่ได้เลือกวิชาชีพครู ฉะนั้นเราก็จะมีเวลาทั้ง 1.เราฝึกทนายความ 2.เราเป็นล่ามควบคู่ไปด้วย พอได้ใบประกอบวิชาชีพปุ๊บ เราก็เป็นล่ามไปแปลตาม TV ไปแปลตามงานต่างๆ งานคดีความ ไปแปลงานประชุม ไปแปลหาหมอ น้ำหนักก็จะเวทเท่าๆ กัน
[b]ทำงานควบคู่กันมาทั้ง 2 อาชีพมาตั้งแต่แรก เราเป็นล่ามอิสระอยู่แล้ว ไม่ได้สังกัดองค์กร เพราะว่าวิชาชีพทนาย ตอนไปฝึกงานเราก็เป็นอิสระ ล่ามเราก็เป็นอิสระ เราแค่ต้องจัดสรรเวลาของเราให้ดีแค่นั้น[/b]
ช่วงที่เรายังไม่ได้เป็นทนายเราเป็นเสมียนทนายความ ตอนที่เรารับงานล่าม เราก็ยังเป็นแค่ล่ามภาษามือในชั้นตำรวจ ในชั้นศาลอะไรพวกนี้ เหมือนเราได้แค่วุฒินิติศาสตร์มามันยังไม่ได้ว่าความได้ เราก็ต้องเก็บเกี่ยวหาประสบการณ์ เราก็ทำงานล่ามด้านกฎหมายไปด้วย แล้วเราก็ฝึกงานคดีไปด้วย”
[ ทนายบุ๋ม แห่งสภาทนายความ จังหวัดราชบุรี ]
ทนายบุ๋ม ยังได้เล่าประสบการณ์การว่าความครั้งแรกของเธอให้ฟังอีกด้วย ความรู้สึกในครั้งนั้นเต็มไปด้วยตื่นเต้น แถมยังเกิดความผิดพลาดขึ้นอีก แต่สุดท้ายก็ผ่านไปได้ด้วยดี
“เคสว่าความคดีแรก ตอนนั้นตื่นเต้นมาก รู้สึกว่าจะเป็นคดีผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เมื่อก่อนเราเป็นเสมียนทนายความ เราเป็นแค่ผู้ช่วย เรารู้สึกไม่กลัว เราเป็นเสมียนที่ฝึกมาเป็นปี มันต้องทำได้หมดแหละ
ปากเสียงเพื่อคนหูหนวก “บุ๋ม-สุจิตรา” ทนายผู้ใช้ภาษามือได้ หนึ่งเดียวในประเทศ!!