“sPace” ช่วยผู้พิการภาคเหนือยิ้มได้ โอกาสใหม่ด้วยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก
[/p]
[b]ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง อว. พ.ศ. 2563 - 2570 มุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับทิศทางของยุทธศาสตร์ชาติโดยหนึ่งในเป้าประสงค์ที่สำคัญคือการวิจัย และสร้างนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ[/b] ที่เกิดขึ้นในสังคมดังนั้นโครงการนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก “sPace” ดังกล่าวจึงตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้พิการ ให้ได้รับโอกาสในการนำนวัตกรรมที่มีความปลอดภัย และได้รับมาตรฐานไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งจะช่วยให้บุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดี
[b]สามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้อย่างมีคุณค่า สามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งในภาคระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ที่จะช่วยทำให้คุณภาพการชีวิตของผู้พิการได้ยกระดับขึ้น และเพื่อเป็นยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ วช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการ นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก “sPace” คุณภาพสูง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการเพื่อมอบให้กับผู้พิการโดยไม่คิดมูลค่า[/b] เพื่อให้ผู้พิการมีโอกาสได้เข้าถึงนวัตกรรมที่ทันสมัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกายอุปกรณ์เป็นวัสดุที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทยมีประสิทธิภาพ เทียบเท่าสากล และเหมาะสมกับลักษณะของผู้พิการแต่ละราย
วช. มอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก “sPace” ทั่วประเทศ จำนวน 200 ชุด โดยมอบให้โรงพยาบาลในกรุงเทพ 5 โรงพยาบาล และโรงพยาบาลในต่างจังหวัดได้แก่ ภาคใต้ 7 จังหวัด ภาคเหนือ 2 จังหวัด ภาคอีสาน 3 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 17 โรงพยาบาล ซึ่งเท้าเทียมไดนามิกเอสเพสจะผลิตโดยบริษัท มุทา จำกัด เป็นบริษัทที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ขึ้นทะเบียนสถานประกอบการผลิตและจดแจ้งผลิตภัณฑ์เท้าเทียมไดนามิกกับ อย.
“sPace” ช่วยผู้พิการภาคเหนือยิ้มได้ โอกาสใหม่ด้วยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก