โลกของผู้พิการ คือ เวทีแสดงศักยภาพ ‘น้องธันย์’ ไม่ขอพลาดใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง!
[/p]
[b] “หลังจากนั้นเราก็ค่อยมาดูมุมมองการใช้ชีวิตที่มันเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นสังคมรอบข้าง การไปเที่ยวกับเพื่อน การใช้ชีวิตกับคนในครอบครัว คือมันก็มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปทุกมุม สรุปว่ามันเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในชีวิตไปเลย”
ความงุนงงสับสน กับ ชีวิตที่เปลี่ยนแบบพลิกฝ่ามือ[/b]
“ตอนนั้นงุนงงสับสน มันเหมือนคนที่ไม่เคยเรียนรู้วิธีการมาก่อน มันก็ต้องค่อยๆ ปรับตัว ค่อยๆ จับนู่นจับนี่ มันเหมือนคนที่ไม่เคยสร้างบ้านน่ะ แล้วอยู่ดีๆ บ้านพัง พอต้องสร้างใหม่มันเหมือนต้องหารายละเอียดใหม่ คือ ชีวิตคนเราก็เปรียบเสมือนบ้าน ธันย์รู้สึกว่ามันมีองค์ประกอบหลายๆ อย่าง อะไรเป็นสิ่งสำคัญ บางคนให้ความสำคัญกับห้องนอน ธัญย์อาจคิดว่าเป็นห้องนั่งเล่น เป็นสิ่งที่สะดวกใจมากกว่า”
[b]การใช้ขาเทียมก้าวผ่านอุปสรรคได้อย่างมั่นคงกว่าเดิม?[/b]
“มันผ่านไปยากจริงๆ เพราะว่าเหมือนเราไม่รู้จะเริ่มต้นจากจุดไหน เราไม่เคยมีประสบการณ์ อย่างเด็กบางคนเคยหกล้มมาแล้ว เขาก็จะมีประสบการณ์ทำแผล หรือมีประสบการณ์หลบหลีกอุบัติเหตุเหล่านั้น แต่ว่าอย่างของธันย์เองไม่เคยเจอเหตุการณ์ที่ใหญ่ขนาดนี้มาก่อน แล้วมันก็เป็นเหตุการณ์ที่ใหญ่มากที่สุดในชีวิต สิ่งแรกที่เราจัดการคือ จัดการความรู้สึกของตัวเองก่อน
ธันย์เชื่ออย่างหนึ่งว่า ‘ความรู้สึก’ เป็นสิ่งที่คอนโทรลทุกอย่างในชีวิตธันย์ อย่างที่เขาเคยพูดกันว่า ‘จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว’ มันอาจจะเป็นคำที่ฟังแล้วดูผิวเผินนะ แต่พอมันเอามาใช้กับชีวิตเรา มันใช้ได้จริงๆ ใจมันนำร่างกายไปจริงๆ โดยเราที่ไม่รู้ตัว ซึ่งมันทำให้ครั้งแรกที่เราก้าวข้ามมาได้ เรากลับไปสู่โหมดว่า อะไรที่มันทำเราให้ติดกับดักของการที่ไม่สามารถมูฟออนจากความเศร้า เสียใจได้ พอมานั่งคิดกับตัวเองแล้ว มันก็คือการยึดติดว่า เพื่อนจะรับเราที่นั่งวีลแชร์ได้ไหม เราจะกลับไปโรงเรียนแบบนี้ที่เรานั่งวีลแชร์ได้หรือเปล่า จะยอมรับกับสายตาคนได้ไหม?”
[b] “มันเหมือนเป็นการยึดติดกับสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรอย่างนี้ แต่พอเรามาทำความเข้าใจกับตัวเอง ว่าเราสบายใจกับแบบไหนมากที่สุด มันก็กลับมามองว่า เราก็แค่เป็นตัวของเรา ที่ไหนไปได้เราก็ไป ที่ไหนไปไม่ได้เราก็แค่อาจจะฝึก หรือถ้าเราไปจริงๆ เราก็แค่พัฒนาตัวเองเพื่อให้ไปถึงที่นั่น ธันย์เริ่มจากจุดนั้น”[/b]
พอเราคิดแบบนี้มันทำให้ตัวเองพัฒนาไปเรื่อยๆ ธันย์พูดให้เห็นภาพง่ายๆ ว่า คนทั่วไปตื่นเช้ามาอยากไปทะเล มีรถ มีเงิน ก็คือขับรถไปทะเลได้ แต่ของธันย์ ช่วงแรกถ้าธันย์อยู่บ้านคนเดียว คิดถึงทะเล อยากไปมาก แต่อาจจะไม่ได้มีขาเทียม ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ขนาดนั้น ธันย์ไม่มีทางพาตัวเองไปได้ นอกจากจ้างคนอื่นมาช่วยเหลือ สิ่งที่ธันย์ทำ คือ ‘จะไม่ฝืนตัวเอง’ ไม่ด้อยค่าตัวเองว่า เห้ย ฉันไปที่นู่นที่นี่ไม่ได้ แต่จะกลับมามองว่า อะไรคือจุดที่ทำให้เราไปถึงที่นู่นไม่ได้ จุดสำคัญก็คือ สุขภาพร่างกายเราไม่แข็งแรงพอ เรายังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในจุดนี้ได้ มันก็กลับมาทำให้เราพัฒนาตัวเอง แล้วธันย์ว่ามันลิงก์ไปกับสภาพจิตใจของเราไปเรื่อยๆ พอระยะเวลานานขึ้น แทนที่หลายคนจะเข้าใจว่ามันเป็นปม แบบเกาะกินหัวใจเราอยู่ไปนานๆ แต่สุดท้ายแล้ว ไม่เลย มันเป็นเวย์ที่กลับกัน มันเหมือนทำให้เรายิ่งอยู่นาน ยิ่งเราเจออุบัติเป็น 10 ปี มันยิ่งเชี่ยวชาญ มันยิ่งรู้จักวิธีการแก้ปัญหาเล็กๆ”
โลกของผู้พิการ คือ เวทีแสดงศักยภาพ ‘น้องธันย์’ ไม่ขอพลาดใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง!