LOGA : ที่มาของการผลิตเมาส์เพื่อผู้พิการที่รักการเล่นเกม
[/p]
[b]แรงบันดาลใจของ LOGA[/b]
ย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2566 อรรถวุฒิ ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงโปรเจกต์ใหม่ของ LOGA เตรียมพัฒนาเมาส์สำหรับผู้พิการ ซึ่งที่มาที่ไปของโปรเจกต์เกิดจากความน่าทึ่งในความบังเอิญที่ได้เห็นการเล่น Valorant ของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ฝีมือเก่งกาจ สิ่งที่น่าทึ่งคือเขาไม่ได้ใช้มือเล่นเหมือนคนทั่วไป แต่กลับใช้เท้าเล่นแทน
“เรื่องนี้เกิดจากที่พนักงานในออฟฟิศเจอน้องทีน ที่ใช้เท้าเคลื่อนเมาส์เล่น Valorant ใน Twitch ผมเลยสนใจเข้าไปดู แล้วรู้สึกว่าอยากจะสนับสนุนเขา” อรรถวุฒิ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นโปรเจคต์นี้
“แต่หลังจากที่ได้พูดคุยกันในทีม รู้สึกว่าแทนที่เราจะแค่สนับสนุนเป็นตัวเงินหรือสินค้า เราสามารถทำได้มากกว่านั้น เราอยากลองดีไซน์เมาส์ที่ใช้เท้าได้ ซึ่งในตอนนี้เราได้ทำเมาส์ใหม่อยู่กับทาง Dots Design Studio เราจึงสอบถามว่าถามนั้นจะพร้อมร่วมงานกับเราในโปรเจกต์นี้ไหม ซึ่งน้องก็ตอบว่าพร้อมลุย เราก็เลยลุยกันเลย”
“คุณตั้ม กฤษณ์ พุฒพิมพ์ ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท Dots Design Studio ลงมาทำด้วยตัวเอง ส่วนคุณเจ พศิน เพ็ชรพูล ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลโปรเจคฝั่ง Dot และ Designer คุณตั้มได้ตอบตกลงทันที วันที่ผมได้โทรไปปรึกษาถึงโปรเจกต์นี้ เพราฉะนั้นการทำงานจึงแบ่งออกเป็น 2 ทีมคือ ทีมผมจะดูแลการใช้งานโดยรวม และระบบ electronic เเพื่อเน้นโจทย์ด้านการแข่งขัน”
“ส่วน ทาง dot design จะเน้นเรื่องการ สวมใส่, วัสดุ, การออกแบบของรูปทรงเท้า และผลิตต้นแบบ 3D Print มาทดสอบ”
สำหรับ Tean Pracharapon หรือน้องทีน ถือเป็นเกมเมอร์ Valorant ที่ฝีมือไม่ธรรมดา เขามักเล่น Valorant ด้วยการใช้เท้าบังคับ และจะสตรีมลงบนช่องของตัวเองบน Tiktok และ Twitch อยู่เสมอ ท่ามกลางความสนใจจากคอมมูนิตี้ที่ต่างชอบดูการเล่นของเขาจากความมหัศจรรย์ที่แม้จะใช้เท้าเล่น แต่กลับไม่เป็นอุปสรรคต่อเขาเลยแม้แต่น้อย
[b]“ผมมองว่า เมื่อเราฝึกฝนมากๆ เราจะเก่งขึ้นแน่ๆ ไม่ว่าจะใช้มือหรือเท้า แต่มันอาจจะยังขาดอุปกรณ์ตรงนี้อยู่” อรรถวุฒิ กล่าวต่อถึงมุมมองในฐานะผู้ผลิตเกมมิ่งเกียร์ที่มีต่อเกมเมอร์ที่เป็นผู้พิการ
“เราเชื่อว่าถ้ามีพาราลิมปิกอยู่ อีสปอร์ตก็สามารถบรรจุลงไปได้เช่นกัน เราต้องการพื้นที่และโอกาสที่ให้บุคคลเหล่านี้ตามล่าความฝันของตัวเองไปเป็นแชมป์ เหมือนทีมอื่นๆที่เราสนับสนุน และมันคงจะดีถ้าเรามีอุปกรณ์ที่ช่วยให้เก่งขึ้นได้ เหมือนที่นักวิ่งมีขาเทียม”
“มันเกิดจากที่ผมเชื่อในความไม่แน่นอนของชีวิตด้วย เราไม่รู้ว่าเมื่อไรที่เราจะมีปัญหาทางกายภาพเช่นกัน ทุกวันนี้อายุจะ 40 ปี แล้วยังรู้สึกว่า ร่างกายแย่ลงๆ ทุกวันหรืออาจจะเกิดจากอุบัติเหตุก็ได้”
“แน่นอนว่าพอคิดแบบนี้มันไม่ใช่แค่น้องทีนคนเดียวแล้ว มันมีอีกหลายคน และเราเป็นเกมเมอร์เช่นกัน ถ้าเราไม่สามารถใช้แขนได้ เราก็ยังคงอยากเล่นอยู่ดี และมันก็คงจะดีกว่ามากๆถ้ามันมีเมาส์สำหรับเท้าเพื่อให้เราเล่นได้ดีขึ้นกับเพื่อนๆคนอื่นๆ”[/b]
หากมองภาพรวมของวงการเกมในปัจจุบันได้มีการสนับสนุนผู้พิการมาตลอด โดยในปี 2019 One Game บริษัทออร์แกไนซ์ และ Unsold Stuff Gaming กลุ่มโปรเพลเยอร์ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เคยจัดงาน 1st eSports Event for Disabled in 2019 GUNMA การแข่งขันอีสปอร์ตส์สำหรับผู้พิการเป็นครั้งแรกของโลกมาแล้ว ซึ่งเป็นทัวร์นาเมนต์ League of Legends ที่ชิงเงินรางวัลกว่า 1 ล้านเยน
หรือแม้แต่ความหลากหลายที่วงการเกมไม่ได้ปิดกั้นที่มีการชื่นชมผู้พิการ แต่มีฝีมือการเล่นอันน่าทึ่งอยู่เสมอ เช่น Cheyenne Serria Demar หรือ braintumormama เกมเมอร์สาวที่ป่วยเป็นอัมพาต แต่มีผู้ติดตามกว่าสามหมื่นคนบน TikTok ซึ่งเธอมักโชว์การเล่น Call of Duty ด้วยมือ และเท้าข้างเดียวที่สู้กับศัตรูได้คล่องแคล่วด้วยอุปกรณ์ที่ดัดแปลงโดยเฉพาะของ Xbox
เช่นเดียวกับน้องทีน ที่มีสกิลการเล่นไม่ธรรมดา และเป็นที่มาที่ไปที่ทำให้ LOGA เห็นถึงความสามารถ และอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาตามแบบที่พวกเขาถนัด นั่นคือการสร้างอุปกรณ์เกมมิ่งเกียร์เฉพาะทาง
LOGA : ที่มาของการผลิตเมาส์เพื่อผู้พิการที่รักการเล่นเกม