"มข."ผนึก 5 หน่วยงาน สานรอยยิ้ม สร้างอาชีพ เด็กผู้มีภาวะพิเศษ ปากแหว่งเพดานโหว่
[/p]
[b]โครงการการเรียนรู้การเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้ด้านการเกษตรยั่งยืน ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพภายในตัวของผู้มีภาวะพิเศษปากแหว่งเพดานโหว่ ให้สามารถสร้างสุนทรียะ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดความเครียด ความวิตกกังวล นอกจากนี้ยังเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ให้สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งส่งมอบความรู้สร้างความเข้าใจของสังคมที่มีต่อผู้มีภาวะพิเศษเพื่ออยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข [/b]
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่นรายงานว่า ที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โดย ศูนย์ตะวันฉาย (มูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะ และใบหน้า และศูนย์การดูแล/วิจัยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการ การเรียนรู้การเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเปิดงาน และรศ.ดร.ทพ. พูนศักดิ์ ภิเศก ผู้อำนวยการศูนย์ตะวันฉาย กล่าวรายงาน ณ อุทยานเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
[b]รศ.ดร.ทพ. พูนศักดิ์ ภิเศก ผู้อำนวยการศูนย์ตะวันฉาย เผยว่า ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจ รวมทั้งส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ด้านร่างกาย (Physical health) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของอวัยวะต่างๆ[/b] ทั้งสุขภาพทั่วไป และการสื่อสาร ด้านจิตใจ (Psychological health) ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและความภาคภูมิใจในตนเอง พฤติกรรมและภาพลักษณ์ภายนอก และด้านสังคม (Social health) ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ทางสังคมและครอบครัว จากการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่มักมีความพึงพอใจในความสวยงามต่ำ มีความพึงพอใจในตนเอง ต่อใบหน้า ริมฝีปาก เสียงพูด ฟัน และการได้ยินปานกลาง พึงพอใจในส่วนของจมูกน้อยที่สุด มีความกังวลในเรื่องเจ็บป่วย และบางรายมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาต่อการเข้าสังคม ศูนย์ตะวันฉาย โดยการทำงานร่วมกันของ มูลนิธิตะวันฉายเพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และพิการทางศีรษะและใบหน้า ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า และศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ได้บูรณาการการดูแลผู้ป่วยร่วมกันโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล รักษา ผ่าตัด และฟื้นฟูสภาพตามช่วงอายุที่สมบูรณ์แบบ มีเป้าหมายของทีมร่วมกันคือ ผู้ป่วยมีความปลอดภัย พึงพอใจในผลลัพธ์การรักษา สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถตอบแทนสู่สังคมได้ ผ่านโครงการการเรียนรู้การเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ที่รวบรวมเอาองค์ความรู้จาก 4 สหวิชา ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บูรณาการร่วมกันเพื่อให้ผู้มีภาวะพิเศษพัฒนาศักยภาพตนเอง ตลอดจนมอบองค์ความรู้สร้างความเข้าใจของสังคม ให้ผู้มีภาวะพิเศษสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
[b]รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า[/b] นอกจากการเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพ เพิ่มความมั่นใจในรูปลักษณ์ภายนอก โดยทีมแพทย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว เราจำเป็นต้องส่งเสริมด้านกิจกรรมหรือสุนทรียภาพ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางใจ สร้างสัมพันธ์ในครอบครัว โดยกิจกรรมฐานการเรียนรู้ดุ๊กดิ๊กไส้เดือนดินเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมหกขาน่ารักโลกของแมลง ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทำให้สามารถต่อยอดความรู้ไปสู่การสร้างรายได้ และผ่อนคลายความเครียด ไม่เพียงแค่รักษาหายทางกายภาพและจบไป แต่เด็กและเยาวชนผู้มีภาวะพิเศษปากแหว่งเพดานโหว่ จะเติบโตอย่างมีศักยภาพ ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
"มข."ผนึก 5 หน่วยงาน สานรอยยิ้ม สร้างอาชีพ เด็กผู้มีภาวะพิเศษ ปากแหว่งเพดานโหว่