ถอดบทเรียนหลอมรวมใจ...บ.ว.ร. จัดการคุณภาพชีวิตวัยใสถึงผู้สูงอายุ
[/p]
[b]เพิ่งคว้ารางวัลตำบลจัดการคุณภาพชีวิตดีเด่นระดับประเทศในปี 2565 จากนวัตกรรมดูแลใจวัยใส-ผู้สูงอายุ-ติดเตียง-ผู้พิการ สำหรับชุมชนตำบลเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ซึ่งถือเป็นต้นแบบของความร่วมมือร่วมใจระหว่างบ้าน-วัด-ราชการ (บวร) ที่จับต้องได้เป็นรูปธรรม[/b]
การเรียนรู้จากชุมชนท้องถิ่นที่สามารถสานพลังสร้างการมีส่วนร่วม ถือเป็นเข็มทิศที่จะนำไปต่อยอดให้ชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศ เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) พร้อมด้วยเครือข่ายจึงได้ลงพื้นที่เยี่ยมชม แลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนความสำเร็จของนักส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชน (นสช.) ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา ที่ รพ.สต.บ้านคลองเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. (สำนัก 2) กล่าวว่า เป็นความภาคภูมิใจที่ภาษีบาปที่เก็บจากภาษีเหล้า บุหรี่ 2% ขับเคลื่อนคนทำงานอย่างมีคุณภาพ เห็นผลในการทำงานสำเร็จเป็นทีม มีพลังมีเป้าหมายเดียวกัน ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดทำคู่มือสุขภาพจิตคนแก้ไขได้ด้วยสถาบันองค์กรต่างๆ ให้ความร่วมมือกับสาธารณสุข การมีอาชีพ มีรายรับ มีที่อยู่ปลอดภัย อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีสารพิษ สารเคมี การมีสุขภาพจิตที่ดี การสร้างองค์ความรู้ลด ละ เลิกเหล้า บุหรี่ ช่วยกันขับเคลื่อนสุขภาวะในชุมชน จับมือกันอย่างเหนียวแน่น สสส.หยิบประเด็นความสำเร็จไปขยายงานขับเคลื่อนต่อชุมชนอื่นๆ การสร้างผู้นำชุมชนตอบสนองความต้องการที่แท้จริงในชุมชน
จากสถานการณ์สุขภาพจิตที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตคนไทยตลอดปี 2564 พบสัดส่วนผู้มีภาวะเครียดสูง เสี่ยงซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตายในกลุ่มประชากรทั่วไปถึงร้อยละ 14.5, 16.8 และ 9.5 สัดส่วนสูงมากในกลุ่มเด็กและเยาวชนวัยเรียนอายุไม่ถึง 20 ปี และอายุ 20-29 ปี ขณะที่ผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการตกงาน สูญเสียรายได้ เป็นกลุ่มที่ต้องการการดูแล เยียวยาทางจิตใจ เนื่องจากมีความเครียดสูง เสี่ยงซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไป 2-3 เท่า สวนทางจำนวนบุคลากรทางสุขภาพจิตที่มีจำกัด ไม่เพียงพอ สสส.จึงร่วมกับ มสช.พัฒนาแนวทางป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด
“ชุมชนท้องถิ่นมีความสำคัญมากในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่ต้นทาง สสส.ร่วมกับ มสช. ดำเนินโครงการ 'พัฒนาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของชุมชนท้องถิ่นในสถานการณ์วิกฤตและตลอดช่วงชีวิต' นำร่อง 10 พื้นที่ที่มีบริบทแตกต่างกัน มุ่งส่งเสริมและสร้างศักยภาพให้คนในชุมชนเป็นบุคลากรด้านสุขภาพจิต ร่วมช่วยเหลือทางสังคม การเงิน การประกอบอาชีพ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของความเครียดความกังวลของประชาชน” นายชาติวุฒิกล่าว
ส่วนนายพงศ์ธร จันทรัศมี ผู้จัดการโครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของชุมชนท้องถิ่นฯ มสช.กล่าวเสริมว่า โครงการนี้มุ่งเน้นทดลองและพัฒนาตัวอย่างของชุมชนท้องถิ่น ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตด้วยกลไกที่แตกต่างกัน ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา วัด หน่วยบริการสุขภาพนำร่อง 10 พื้นที่ครอบคลุมทุกภูมิภาค มี นสช.กว่า 200 คนซึ่งเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข หรืออาสาพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว แต่เพิ่มบทบาทและเครื่องมือส่งเสริมสุขภาพจิตเข้าไปด้วย
จากการดำเนินงานกว่า 1 ปี ทำให้เกิดกลไกการทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพจิตที่เข้มแข็งตั้งแต่การส่งเสริม สอดส่อง และส่งต่อ มีการกำหนดกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้มีปัญหาจิตเวช ผู้ติดยาเสพติด ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา อาทิ ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคุณค่า สร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ อีกทั้งผู้นำท้องถิ่นเห็นความสำคัญของงานด้านสุขภาพจิตมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายถอดบทเรียนทั้ง 10 พื้นที่ ขยายผลการดำเนินงานเป็น 100 พื้นที่ภายใน 5 ปี
ถอดบทเรียนหลอมรวมใจ...บ.ว.ร. จัดการคุณภาพชีวิตวัยใสถึงผู้สูงอายุ