Happy Family วันดีๆ ของ "คนพิการ" ที่ "พิพิธภัณฑ์ไทย"
[/p]
[b]"คนพิการ" ในสังคมไทย ยังคงต้องเผชิญกับการใช้ชีวิตประจำวันที่แสนยากลำบากมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า เพียงแค่ออกไปปากซอยหน้าบ้าน ไปโรงเรียน ทำงาน หรือท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะที่ผู้คนก็ดูเหมือนไม่ได้ให้ความสนใจ หลายคนมีทัศนคติต่อคนพิการว่าควรอยู่บ้าน ไม่ควรออกไปเป็นภาระของสังคม ทั้งๆ ที่คนพิการก็มีสิทธิใช้ชีวิตเช่นเดียวกับคนทั่วไปในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเสรีภาพและมีศักดิ์ศรี[/b]
"คนพิการมีข้อจำกัดเรื่องของการมีส่วนร่วมกับคนในสังคม กิจกรรมทางสังคมที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย มันไม่ได้ง่ายสำหรับคนพิการ บวกกับความคิดที่ว่า คนพิการ เด็กพิการ ต้องอยู่แต่ในบ้านเท่านั้น ไม่แปลกที่เราแทบไม่ค่อยเห็นคนที่ใช้วีลแชร์ คนใช้ไม้เท้า หรือคนพิการประเภทอื่นๆ ออกจากบ้านมาเที่ยว หรือทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม" ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก ๙) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำ และความไม่เท่าเทียมกันตอกย้ำให้เห็นชัด
ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. มองว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ต้องนั่งวีลแชร์ หรือความพิการใดๆ แต่คือการยอมรับว่า มีกลุ่มคนพิการอยู่ในสังคมของเรา และพวกเขาก็ต้องการให้สังคมเห็น "คุณค่า" เท่ากับคนอื่น ดังนั้น หนึ่งในเป้าหมายสำคัญ ที่ สสส. มุ่งหวังอยากให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความหลากหลายและเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง จึงเกิดแนวคิดในการเข้าไปสนับสนุนให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันระหว่างคนทั่วไปกับคนพิการ จนเกิดเป็น "โครงการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับคนพิการผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์" ที่คนพิการและครอบครัวของคนพิการกล้าออกจากบ้านทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน โดยกิจกรรมแรกที่จัดขึ้นในเดือนกันยายน เป็นการพาคนพิการ 40 คนจาก 32 ครอบครัว มาร่วมเรียนรู้ ดู ชม ประวัติศาสตร์และความเป็นไทยในพิพิธภัณฑ์ไทย ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และนิทรรศรัตนโกสินทร์
Happy Family วันดีๆ ของ "คนพิการ" ที่ "พิพิธภัณฑ์ไทย"