“คนพิการ” ผู้ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังในศึกเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.
[/p]
[b]การสัญจรในกรุงเทพ ด้วยทางเท้าในบางพื้นที่ว่ายากแล้ว แต่สำหรับคนพิการนั้นยากกว่า เพราะมีอุปสรรค์กีดขวาง แม้กระทั่งป้ายหาเสียงของผู้สมัครบางรายก็ยังกีดขวาง การเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนให้คนพิการ ได้ใช้ชีวิตอย่างเท่าเทียมได้หรือไม่ ? [/b]
ซาบะ-มานิตย์ อินทร์พิมพ์ ผู้จัดตั้ง Accessibility Is Freedom ได้พา SPRiNG ลงพื้นที่สำรวจจุดที่ทางเท้ามีปัญหา ด้วยระยะทางเริ่มต้นแค่ไม่ถึง 100 เมตร ก็พบกับอุปสรรค์มากมายที่ทำให้เขา สัญจรได้อย่างยากลำบาก ตั้งแต่ป้ายรถเมล์ พื้นทางเท้าที่ไม่เสมอกัน-ชำรุด และป้ายหาเสียงที่บีบให้พื้นที่สัญจรของเขาแคบลง
คุณซาบะ เล่าว่า สาเหตุของการเรียกร้องและผลักดันสังคมมากว่า 20 ปี ที่คอยช่วยงานอยู่เบื้องหลัง และอีกเกือบ 10 ปี กับการเป็นนักรณรงค์เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมของผู้พิการ เพราะต้องการให้ผู้พิการทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเท่าเทียม วันนี้คนพิการใช้รถประจำทางได้อย่างสะดวกสบายแล้วหรือยัง ? วันนี้ทางเท้าพวกเขาใช้ได้โดยไม่มีอะไรมากีดขวางแล้วหรือยัง ?
“ระบบขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมสำหรับคนพิการ จะทำให้เรา(ผู้พิการ) สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเท่าเทียม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือ ทางเท้าที่ไม่สมบรูณ์ ทำให้เกิดความลำบากในการสัญจร ซึ่งคนทั่วไปจริง ๆ ก็เกิดความลำบาก แต่แค่เขายังพอไปได้ แต่ผู้ที่มีความพิการด้านอื่น ๆ ความลำบากเหล่านั้นอาจทำให้เขาไปไม่ได้เลย”
ขณะสำรวจพื้นที่ ก็พบกับสิ่งอำนวยความสะดวกหนึ่งที่ผู้พิการอย่าง คุณซาบะ ไม่สามารถใช้ได้เลย นั่นคือสะพานลอย ซึ่งจุดที่สำรวจพบว่า สะพานลอยกว้างจนกีดขวางแทบจะทำให้คุณซาบะสัญจรไปไม่ได้เลย เขาเล่าว่า “สะพานลอยที่กีดขวางทางเท้าจนไม่มีช่องให้สัญจรมีอยู่ทั่วกรุงเทพและประเทศ”
“คนพิการ” ผู้ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังในศึกเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.