ปลาหมอชุมพร 2-3 ตัว/กก. ถูกใจเกษตรกร แนะเทคนิคการเพาะพันธุ์ปลาหลายชนิด
[/p]
[b]คุณวีระชัย ศรีสด อยู่บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 8 บ้านโนนแดง ตำบลยาว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จากเดิมที่เคยมีพื้นที่ทำนาเป็น 100 ไร่ แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากขาดแคลนน้ำ แถมยิ่งทำ ยิ่งมีหนี้สิน จึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพการเกษตรหลายชนิดที่ใช้น้ำน้อย แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนมาจบที่การเพาะพันธุ์ปลาขาย
เพาะปลาหมอ-ปลานิล แปลงเพศ ตลาดต้องการ[/b]
คุณวีระชัย บอกว่า ลูกพันธุ์ปลาหมอชุมพรเป็นปลาที่ได้รับความนิยมมาก เขาได้นำพันธุ์ปลาหมอชุมพรมาจากประมงจังหวัดอุบลราชธานี คุณสมบัติที่ดีของปลาหมอชุมพรคือ มีขนาดใหญ่ จำนวน 2-3 ตัว ต่อกิโลกรัม จึงทำให้เป็นจุดเด่นของความต้องการจากลูกค้า ทั้งผู้บริโภคและพ่อค้า อีกประการเนื่องจากปลาหมอชุมพรตามธรรมชาติมีขนาดเล็กมาก ต่างจากปลาเลี้ยง จึงทำให้ผู้บริโภคสนใจปลาเลี้ยงมากกว่า
สำหรับขั้นตอนการเพาะปลา เจ้าของฟาร์มให้รายละเอียดว่า หลังจากลูกปลาออกจากไข่แล้ว จะเพาะ-ฟัก ในบ่อซีเมนต์ก่อนเป็นเวลาประมาณ 3 วัน ซึ่งในช่วงนี้จะได้ลูกปลาในอัตรารอด ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นจึงย้ายลงบ่อดินเป็นจำนวนนับล้านตัว ระยะเวลาการเลี้ยงลูกปลาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน อย่าง ปลาดุก ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 20 วัน จึงจับมาคัดแยกขนาด จะได้เป็นปลานิ้วบ้างหรือต่ำกว่านิ้วบ้าง ซึ่งเป็นขนาดที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้พันธุ์ปลาที่เพาะขายมากที่สุดคือ ปลาดุกรัสเซีย ปลาดุกบิ๊กอุย ปลานิลแปลงเพศ ปลาหมอแปลงเพศ และปลาตะเพียน
คุณวีระชัย บอกถึงเหตุผลที่ต้องแปลงเพศปลาเพื่อจำหน่ายว่า จะทำให้ปลาโตเร็ว มีน้ำหนักและมีเนื้อมาก อย่างปลาหมอจะแปลงเพศจากเพศผู้ไปเป็นเพศเมีย เพราะตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ส่วนปลานิลจะแปลงจากตัวเมียเป็นตัวผู้ เพราะตัวผู้มีขนาดใหญ่และน้ำหนักดีกว่าตัวเมีย
ปลาหมอชุมพร 2-3 ตัว/กก. ถูกใจเกษตรกร แนะเทคนิคการเพาะพันธุ์ปลาหลายชนิด