ปลดล็อคสวัสดิการ สู่ “สังคมเพื่อเราทุกคน (Inclusive Society)”
[/p]
[b]ปลดล็อคสวัสดิการ สู่ “สังคมเพื่อเราทุกคน (Inclusive Society)” และความเท่าเทียมที่ไม่เหลื่อมล้ำของ LGBTQI+ ผู้พิการ เด็ก ผู้สูงวัย และคนชายขอบ[/b]
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ หลายองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนสังคมให้เป็น “inclusive society” หรือ สังคมของทุกคน อย่างจริงจังในหลายมิติมากขึ้น ซึ่งคำว่า “ทุกคน” ในที่นี้ จำเป็นต้องครอบคลุมถึงบุคคลที่มีความแตกต่างในเรื่องของสภาพร่างกาย อายุ เพศวิถี ผู้เปราะบาง รวมไปถึงบุคคลชายขอบในสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสังคมให้เป็น inclusive society ศูนย์ฝึกอบรมอาเซียนด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม (ATCSW) ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงได้จัดงาน “สัมมนาทางวิชาการนานาชาติสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมสู่การพัฒนายั่งยืน” ขึ้น
“ตั้งแต่ปีแรกของการระบาดจนถึงขณะนี้ โรคโควิด-19 ได้พรากชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วถึง 6.2 ล้านคน ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียที่มากกว่าสงครามเวียดนาม และสงครามคาบสมุทรเกาหลีรวมกัน” นางสาววรรณา สุขศรีบูรณ์อำไพ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมอาเซียนด้านสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม (ATCSW) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการนานาชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาด้านสุขภาวะของคนทุกกลุ่มนั้น สร้างผลกระทบต่อชีวิตคนไม่น้อยกว่าสงคราม จึงเป็นที่มาของแนวคิดการจัดงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ว่า Healthy Society, Stronger Social Work ที่หมายความว่า การมีสังคมที่สุขภาพดี จะช่วยสนับสนุนงานด้านสังคมสงเคราะห์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นนั่นเอง งานสัมมนาวิชาการนานาชาติครั้งนี้ที่เต็มไปด้วย 5 ประเด็นหลักจากกลุ่มคนที่มีความแตกต่างในสังคม เพื่อขับเคลื่อนให้สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมของทุกคนอย่างเท่าเทียม ดังที่นางสาววรรณาได้กล่าวไว้ว่า “เราทุกคน รวมถึงผู้พิการ ผู้สูงวัย เด็ก ผู้เปราะบาง หรือ LGBTQI+ โปรดรับรู้ว่า เราทุกคนมีความแตกต่างกัน แต่ไม่มีใครด้อยกว่ากัน และจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
[b]หลากหลายได้อย่างเท่าเทียม กับสวัสดิการองค์กรสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ[/b]
บุคคลกลุ่ม LGBTQI+ เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มักไม่ได้รับสิทธิและสวัสดิการที่ทัดเทียมบุคคลที่มีเพศสภาพตรงตามเพศกำเนิด เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยให้ทุกเพศสภาพมีสิทธิเท่าเทียม นางสาวนาฎฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC หนึ่งในวิทยากรรับเชิญในประเด็นเกี่ยวกับสวัสดิการสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในองค์กร ได้แบ่งปันนโยบายของบริษัทฯ ในการให้สิทธิ์พนักงานที่เป็น LGBTQI+ สามารถลาเพื่อไปจัดงานแต่งงาน อุปการะลูกบุญธรรม หรือจัดงานศพให้แก่คู่ชีวิต รวมไปถึงให้สิทธิ์พนักงานในการลาเพื่อผ่าตัดแปลงเพศได้ถึง 30 วัน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในบริษัทแรก ๆ ในเมืองไทยที่ออกนโยบายนี้ให้พนักงาน และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากพนักงานทุกภาคส่วนอีกด้วย
ปลดล็อคสวัสดิการ สู่ “สังคมเพื่อเราทุกคน (Inclusive Society)”