เจอ แจ้ง แจ่ม แจ๋ว ปรับแต่งเมืองให้เท่าเทียม
[/p]
[b]ขณะที่ นางพัชรมณฑ์ ปิติปัญญากุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสิทธิและสวัสดิการคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) บอกถึงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการแพลตฟอร์มการขึ้นทะเบียนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ภายใต้แนวคิดเจอ แจ้ง แจ่ม แจ๋ว ว่า[/b] เราทำการจัดระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Ranking Disabilities Friendly) จากสถานที่ที่มีอยู่ในฐานข้อมูลปัจจุบัน จำนวน 5,000 กว่าแห่ง โดยเราได้แบ่งออกเป็น 7 ระดับ หรือ 7 ดาว เพื่อให้คนพิการและผู้สูงอายุ รวมถึงประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้ได้ว่าสถานที่นั้น มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ทางลาด ราวจับ ที่จอดรถ ห้องน้ำ ป้ายและสัญลักษณ์มากน้อยเพียงใด โดยสถานที่ที่จะจัดอันดับจะมีอยู่ 11 ประเภท ได้แก่ สถานีบริการน้ำมัน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน สถานที่ท่องเที่ยว/สวนสาธารณะ ขนส่งสาธารณะ ศาสนสถาน สถาบันการศึกษา (ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย) โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และร้านอาหาร
[b]ด้าน ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าทีมวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวถึงความท้าทายและแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ว่า[/b] คนทั่วไปวันหนึ่งก็ต้องกลายเป็นผู้สูงอายุ ต้องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ ทางเนคเทคร่วมกับ สสส. และภาคีเครือข่าย พัฒนาปรับปรุงให้ฐานข้อมูลมีชีวิต และพยายามขยายการใช้งานออกไปให้กว้างที่สุด ซึ่งหลังจากที่เราได้ข้อมูลเพิ่มเติม ก็จะนำมาประเมินคุณภาพว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ มีอะไรต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น นอกจากนี้ จะนำเทคโนโลยีการตรวจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือ AI เข้ามาช่วยในการประเมินมาตรฐานเบื้องต้น เช่น ดูความกว้างของทางเข้าสำหรับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ มีทางลาดที่เหมาะสมหรือไม่ ห้องน้ำเป็นอย่างไรมีราวจับหรือไม่ เป็นต้น ดังนั้น การที่สถานที่ต่าง ๆ จะได้รับการขึ้นทะเบียนในแพลตฟอร์ม “เจอ แจ้ง แจ่ม แจ๋ว” จึงจะต้องผ่านมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่กำหนด
เจอ แจ้ง แจ่ม แจ๋ว ปรับแต่งเมืองให้เท่าเทียม