"มือ-นิ้ว-เท้า" เทียมเพื่อทดแทน สร้างความมั่นใจ เหมือนไม่พิการ
[/p]
[b]สร้างความมั่นใจให้ผู้สูญเสียอวัยวะ[/b]
นายคัมภีร์ ชู้กระโทก หรือ กอล์ฟ นักกายอุปกรณ์ ที่มีประสบการณ์ในการทำอวัยวะซิลิโคนให้กับผู้พิการมากว่า 7 ปี เล่าให้ไทยพีบีเอสฟังว่า พ่อของตนเองเป็นนักทำแขนและขาเทียมในหน่วยงานรัฐ และตนเองก็ได้ใกล้ชิดกับพ่อ แม้ว่าต่อมาตนเองจะเข้าศึกษาในสายอาชีวะ มีสาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ และต่อมาก็ได้เบนเข็มมาเข้าอบรมในหลักสูตร ผู้ช่วยนักกายอุปกรณ์ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร ร่วมกับ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และเริ่มทำงานในสายนักการอุปกรณ์มากว่า 7 ปี จนถึงปัจจุบันที่ออกมาเปิด บ.รับทำอวัยวะเทียมจากซิลิโคน
คัมภีร์ เล่าว่า การเข้ามาทำอวัยวะเทียมจากซิลิโคนมีความแตกต่างจากอวัยวะเทียมทั่วไปที่เน้นการใช้งานเช่น แขน-ขาเทียม โดยอวัยวะเทียมที่ทำจากซิลิโคนจะมีความเหมือนจริงมากกว่า ซึ่งมีรายละเอียดและสีที่ใกล้เคียงกับสีผิวของผู้ใช้บริการ ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับผู้ที่สูญเสียอวัยวะได้เป็นอย่างมาก
“ผู้ใช้อวัยวะเทียมที่ทำจากซิลิโคนบางคน จากเดิมเป็นคนที่สนุกสนาน อยู่ท่ามกลางวงสังสรรค์ เป็นคนอัธยาศัยดี ตลก ให้ความสุขและเสียงหัวเราะต่อเพื่อน เมื่อประสบอุบัติเหตุ ทำให้สูญเสียความมั่นใจทำให้เขากลายเป็นคนเก็บตัว กลายเป็นคนไม่มีความสุขกับชีวิตเหมือนที่เคย และเมื่อเขาได้อวัยวะเทียมเหล่านี้ไปจึงเหมือนกับว่าเขาได้สิ่งที่ขาดหายไปกลับคืน ”
กลุ่มผู้ที่มาใช้บริการจึงจะมีทั้งผู้สูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุจากการทำงานและอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตั้งแต่กำเนิด และจากการเจ็บป่วย เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน
"มือ-นิ้ว-เท้า" เทียมเพื่อทดแทน สร้างความมั่นใจ เหมือนไม่พิการ