ปลดล็อกจ้างงาน 50 เขต กทม. เปลี่ยนผู้พิการมีศักดิ์ศรี มีที่ยืนในสังคม
[/p]
[b]ในยามวิกฤติกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบเสมอคือ ผู้พิการ เช่นเดียวกันในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แม้เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนได้รับผลกระทบโดยถ้วนทั่ว ทว่าเรากลับพบว่า “ผู้พิการ” นั้นได้รับผลกระทบมากยิ่งกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อองค์กรต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ ลดจำนวนพนักงาน คนกลุ่มแรกที่ต้องถูกเลิกจ้างย่อมไม่พ้นคนพิการ “ความพิการ” จึงไม่ใช่การเอ่ยถึงเพียงเรื่องของกายภาพเท่านั้น แต่ยังคงเป็นปัญหาในเรื่องของความ “พิการโอกาส” ที่สั่งสมมายาวนาน[/b]
แม้วันนี้ สถานะภาพคนพิการจะเริ่ม “อยู่ในสายตา” คนในสังคมมากขึ้น ทั้งในแง่สิทธิที่พึงได้รับ และการเปิดกว้างในการทำงาน ภายในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ แต่เมื่อเทียบสัดส่วนคนพิการทั้งประเทศที่มีแล้ว เรากลับพบว่า จำนวนคนพิการที่ได้อยู่ในระบบแรงงานปัจจุบัน ยังคงมีเพียง “หยิบมือเดียว”
“ส่วนหนึ่งเพราะคนพิการส่วนใหญ่ถูกจ้างด้วยความสงสาร บางองค์กรอาจไม่ได้เห็นถึงความสามารถหรือศักยภาพของเขา หรือแม้ในยามปกติ เมื่อต้องเลือกพิจารณาบุคลากรในตำแหน่งสำคัญ คนพิการก็มักไม่ได้เลือก เพราะมักถูกมองว่าทักษะความสามารถต่างๆ อาจสู้กับคนทั่วไปในมาตรฐานเดียวกันไม่ได้ ดังนั้น เพื่อปลดล็อกปัญหาเหล่านี้ เราต้องวางแผนล่วงหน้า ให้ผู้พิการที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานมีความพร้อมมากขึ้น” เสียงสะท้อนจาก ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาไขความกระจ่างถึงปมปัญหาดังกล่าว
ปลดล็อกจ้างงาน 50 เขต กทม. เปลี่ยนผู้พิการมีศักดิ์ศรี มีที่ยืนในสังคม