ยกระดับ "สวัสดิภาพผู้หญิง" รองรับสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ
[/p]
[b]จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประชากร Gen Y ที่เป็นวัยแรงงานอยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีจำนวนกว่า 1 ใน 5 ทั่วโลก โดยเฉพาะผู้หญิงต้องแบกรับภาระการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น[b]
ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย มีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น โดยการดูแลผู้สูงวัย รวมถึงเด็กเล็ก ส่วนใหญ่จะถูกมองว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิง
ขณะเดียวกันในทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ผู้ชายและผู้หญิงมีความไม่เท่าเทียมกันในด้านรายได้ ความเหลื่อมล้ำในที่ทำงานยังมีอยู่
โดย TDRI เผยสถิติว่า ในปี 2530-2539 ไม่ว่าจะระดับการศึกษาใดๆ ลูกจ้างเอกชนชายมีค่าจ้างสูงกว่าหญิงร้อยละ 22-57 ก่อนจะลดลงเหลือร้อยละ 12-50 ในปี 2540-2549 และร้อยละ 11-32 ในปี 2550-2559 ทั้งนี้สถานการณ์อาจดีขึ้นในแรงงานไร้ฝีมือ แต่กลับแย่ลงสำหรับแรงงานที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
2ใน3ผู้หญิงอายุ60ปีจะไม่ได้ทำงาน
เมื่อเร็วๆนี้ Think Forward ได้ร่วมกับพรรคก้าวไกล จัดเวทีเสวนาเชิงนโยบายออนไลน์ ในหัวข้อ “พ่อแก่ แม่ป่วย ลูกเล็ก มองขาดปัญหาฉุดรั้งความก้าวหน้าทางการงานของสตรี กับ Think Forward Center”
“เดชรัต สุขกำเนิด” ผู้อำนวยการ Think Forward Center กล่าวว่าไทยไม่ได้มีปัญหาเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัวจำนวนมาก
นอกจากนั้น TDRI ยังเผยตัวเลขว่าในช่วงปี 2550-2559 ส่วนต่างค่าจ้างระหว่างแรงงานชายกับหญิงในกลุ่มแรงงานที่จบการศึกษาปริญญาตรีอยู่ที่เกือบ 5,000 บาท และมีส่วนต่างเกิน 10,000 บาท ในกลุ่มแรงงานที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ก่อนที่ส่วนต่างจะลดลงมาเหลือเพียง 5,000 บาท ในแรงงานทั้งสองกลุ่มตั้งแต่ปี 2560
ยกระดับ "สวัสดิภาพผู้หญิง" รองรับสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ