เหรียญทอง “พาราลิมปิก ? โอลิมปิก” เจาะช่องโหว่ “ค่าของเงิน (อัดฉีด)” สะท้อน “ค่าของคน”
[/p]
5 เหรียญเงิน จาก อธิวัฒน์ แพงเหนือ วีลแชร์เรซซิ่ง 400 เมตร T54, ประวัติ วะโฮรัมย์ วีลแชร์เรซซิ่ง 1,500 เมตร T54, พรโชค ลาภเย็น บอคเซีย บุคคล บีซี 4, วัชรพล วงษา บอคเซีย บุคคล บีซี 2, สุจิรัตน์ ปุกคำ แบดมินตัน หญิงเดี่ยว คลาส WH1
และ 8 เหรียญทองแดง จาก สายสุนีย์ จ๊ะนะ วีลแชร์ฟันดาบ เอเป้ คลาสบี, รุ่งโรจน์ ไทยนิยม เทเบิลเทนนิส บุคคลชาย คลาส 6, ภูธเรศ คงรักษ์ วีลแชร์เรซซิ่ง 1,500 เมตร และ 5,000 คลาส T54, ทีมชาย คลาส 3 เทเบิลเทนนิส (อนุรักษ์ ลาววงษ์, ยุทธจักร กลิ่นบานชื่น, ถิรายุ เชื้อวงษ์), ขวัญสุดา พวงกิจจา เทควันโด คลาส K44 น้ำหนักไม่เกิน 49 กก., สายชล คนเจน วีลแชร์เรซซิ่ง 800 เมตร T54, แบดมินตัน หญิงคู่ คลาส WH 1-2 (สุจิรัตน์ ปุกคำ, อำนวย เวชวิฐาน)
ทว่า แม้จะได้เหรียญชัยชนะมาอย่างน่าภาคภูมิ แต่ใครจะรู้ล่ะว่าพวกเขายังคงไม่ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกับคนทั่วไป
“เม่น-ปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์” หรือ เม่น ไทยแลนด์ ส.ส.คนแรกในประวัติศาสตร์ที่เป็นผู้พิการ และอดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิส (ปิงปอง) ทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญเงินจากการแข่งขันเอเชียนพาราเกมส์ 2018 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ได้สำเร็จ เปิดใจกับ ทีมข่าว MGR Live ถึงการออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อัดฉีดเงินให้กับนักกีฬาคนพิการ ในอัตราที่เท่าเทียมกันกับนักกีฬาที่มีร่างกายปกติ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคคลผู้สร้างความภาคภูมิใจให้ประเทศ
โดยเขามองเห็นว่า สำหรับนักกีฬาคนพิการ กว่าที่จะมีโอกาสเข้าร่วมแข่งขันกีฬา มีความพยายามและการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศที่ไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นกีฬาโอลิมปิก, เอเชียน หรือพาราลิมปิกเกมส์
เหรียญทอง “พาราลิมปิก ? โอลิมปิก” เจาะช่องโหว่ “ค่าของเงิน (อัดฉีด)” สะท้อน “ค่าของคน”