ชีวิตต้องรอด โควิด-19 เดือดร้อนX3 คนพิการชุมชนคลองเตย
[/p]
ชูชาติยืนยันว่าภาพรวมคนพิการในชุมชนคลองเตยไม่มีอะไรน่ากังวล แต่ที่จะห่วงคือ ต่างประสบปัญหาไม่มีรายได้ ไม่มีเงิน เพราะที่เคยเป็นแรงงานก็ถูกเลิกจ้าง ที่เคยทำอาชีพอิสระ เช่น ค้าขาย รายได้ก็ลดลง และช่วงหลังยังออกไปทำงานไม่ได้ ฉะนั้นช่วงนี้จึงต้องช่วยด้วยการส่งอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของจำ ให้ถึงบ้าน โชคดีว่ามีทั้งสปอนเซอร์ช่วยบริจาคบ้าง แต่บางทีก็ต้องควักกระเป๋าตัวเองช่วย
“คนพิการในคลองเตยมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งอยู่เป็นครอบครัว อย่างมีครอบครัวที่พ่อแม่ลูกพิการหมดเลย ต้องให้ข้างบ้านช่วยดูแล บางครอบครัวก็อยู่กันพ่อลูก พิการทั้งคู่ ไม่มีใครดูแลเช่นกัน เพราะแม่ทอดทิ้ง หรือแม่ลูกพิการ พ่อทิ้ง อีกหลายเคสก็น่าอนาถใจ เป็นผู้สูงอายุพิการ ติดเตียงถูกลูกๆ ทอดทิ้ง ต้องนอนจมปัสสาวะ อุจจาระ เราก็พยายามเอาสิ่งของจำเป็นไปช่วยอยู่ตลอด แต่ในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ก็อาจยากหน่อย”
ชูชาติ เล่าอีกว่า หลังจาก อพม. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหลวงพ่อวัดสะพาน ได้ช่วยกันทำจุดคัดแยกผู้มีความเสี่ยง และผู้ติดเชื้อให้ออกมาจากครอบครัวและชุมชน หากเสี่ยงก็นำออกมากักตัว หากตรวจเจอว่าติดเชื้อก็นำมารักษาพยาบาล ได้ทำให้ในชุมชนมีความปลอดภัยมากขึ้น
“แม้คนพิการหลายคนจะถูกทอดทิ้ง แต่เขาก็ไม่อยากติดเชื้อ อยากมีชีวิตรอด หลายคนที่เราไปช่วยต่างซาบซึ้งใจ น้ำตาไหล ขอบคุณที่ยังมีเราไปดูแล” ชูชาติกล่าวด้วยน้ำเสียงซาบซึ้ง
ด้าน นางสาวเสาวลักษณ์ ทองก๊วย กรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ แห่งสหประชาชาติ เล่าภายหลังเป็นตัวแทนมอบของว่า ไม่น่าเชื่อว่าในชุมชนที่มีทางสัญจรไปมาคับแคบแห่งนี้ จะมีคนพิการอยู่อาศัยรวม 2,000 กว่าคน ทั้งพิการเชิงประจักษ์และไม่เชิงประจักษ์ด้วยสายตา ขณะนี้พวกเขาต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ไม่มีอาชีพ ไม่มีเงิน ไม่มีที่อื่นให้ไป
ชีวิตต้องรอด โควิด-19 เดือดร้อนX3 คนพิการชุมชนคลองเตย