'นวัตกรรมอวัยวะเทียม'ระดับพรีเมี่ยม ตัวช่วย 'ผู้พิการ'
[/p]
[b]จุฬาฯเปิด "นวัตกรรมอวัยวะเทียม"ระดับพรีเมี่ยม มาตรฐานสากล ช่วย"ผู้พิการ" เคลื่อนไหวร่างกาย เพิ่มคุณภาพชีวิต [/b]
จากข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เปิดเผยถึงสถานการณ์ผู้พิการในประเทศไทย (ข้อมูล ณ เดือนมี.ค.2564) พบว่า มี"ผู้พิการ"ทั้งหมด 2,092,595 คน โดยเป็น"ผู้พิการ"เพศชาย 1,091,845 คนหรือ 52.18% และเพศหญิง1,000,750 คน หรือ 47.82% โดยในจำนวนดังกล่าว มี "ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย" 1,043,192 คน หรือ49.87%
[b]"ผู้พิการ"มากขึ้นทุกปี สะท้อนปัญหาสังคม [/b]
ทั้งนี้ คนพิการที่อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 15 - 59 ปี) มี 857,253 คน แบ่งเป็น คนพิการในวัยทำงานที่ประกอบอาชีพ 207,169 คน 24.17 % ของจำนวนคนพิการวัยทำงานทั้งหมด คนพิการในวัยทำงานที่สามารถประกอบอาชีพได้แต่ยังไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 72,466 คน 8.45% คนพิการในวัยทำงานที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (เนื่องจากพิการมากช่วยเหลือตนเองไม่ได้) 53,479 คน 6.24%
ด้วยจำนวน"ผู้พิการ"มากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะ "ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย" และส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน ปัญหาที่ตามมาจึงไม่ใช่เพียงงบประมาณในการดูแลรักษา ช่วยเหลือ"ผู้พิการ"เท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การขาดคนวัยแรงงานถือเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนประเทศ และที่สำคัญการนำเครื่องมือทางการแพทย์ อย่าง อวัยวะเทียม นำเข้าจากต่างประเทศ ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
"เครื่องมือทางการแพทย์และสุขภาพ"ที่นำเข้าจากต่างประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ครุภัณฑ์ และชุดตรวจ จากการสำรวจโครงสร้างอุตสาหกรรม"เครื่องมือทางการแพทย์และสุขภาพ"ไทยในปี 2563 สถาบันพลาสติก พบว่า ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย มีอยู่ราว 513 ราย โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ (จากผู้ให้ข้อมูล 494 ราย) ส่วนใหญ่เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ 245 ราย (43%) ครุภัณฑ์ทางการแพทย์159 ราย (28%) การบริการสนับสนุน 37 ราย (6%) น้ำยาและชุดวินิจฉัย 36 ราย (6%) และอื่นๆ 96 ราย (17%) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางรายมีการประกอบธุรกิจมากกว่า 1 ประเภท และ 1 ผลิตภัณฑ์ จึงอาจเกิดการนับซ้ำ
'นวัตกรรมอวัยวะเทียม'ระดับพรีเมี่ยม ตัวช่วย 'ผู้พิการ'