เสาวลักษณ์ ทองก๊วย กก.สิทธิคนพิการ “ยูเอ็น” ชำแหละ “คุณภาพชีวิตคนพิการ” ไข่ในหิน-ค่าใช้จ่ายเพิ่ม
[/p]
[b]แรงผลักดัน “เอ็นจีโอด้านคนพิการ” [/b]
“จุดเริ่มต้นที่ทำให้เรามาทำตรงนี้มาจากเพลนพอยต์ของตัวเองที่ต้องการหาคำตอบว่า ทำไมเราพิการแล้วไปทำงานไม่ได้ ฉันนั่งรถเข็น แต่ใบประกาศฉันเหมือนเดิม คือ เราส่งใบสมัครงานไป ทำไมถูกคัดออก และมีคนตั้งคำถามกับเราว่า เราทำงานได้เหรอ ทั้งที่ตัวเราเองยืนยันว่า เราทำงานได้ แต่คนรอบข้างทำไมสงสัยในตัวเรา ทั้งที่ทำงานในออฟฟิศใช้มือ ไม่ได้ใช้ขา”
จากตรงนี้ทำให้เสาวลักษณ์ประจักษ์ว่า สังคมไทยยังมีทัศนคติกับคนพิการในแง่ “สงเคราะห์” รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่มีให้คนพิการ เช่น ทางลาด ภาษามือ อักษรเบรล
“เราต้องการพิสูจน์หักล้างความคิดของคนที่คิดว่า คนพิการทำอะไรยากๆ ซับซ้อนไม่ได้ มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรม จะเรียนอะไรที่ยากก็ไม่ได้ เราต้องการหักล้างความคิดนี้”
แม้ภายนอกจะไม่สมบูรณ์ แต่เสาวลักษณ์มีความสามารถรอบด้าน ทั้งแบ๊กกราวด์ความสามารถก่อนจะเป็นคนพิการ เธอเป็นเด็กกิจกรรม เคยทำงานแบงก์เป็นสาวออฟฟิศ เมื่อชีวิตหักเหก็พยายามสู้ด้วยการเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม จนพูดฟังอ่านเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว เข้าทำงานในตำแหน่ง “เลขานุการผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นสายบริหาร” ในโปรเจ็กต์สร้างศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งงานนี้ทำให้เธอมีทักษะการทำงานมากมาย รวมถึงการได้เดินทางไปทำงานในต่างประเทศด้วย
“ทักษะชีวิตของดิฉันมีมาครึ่งหนึ่งแล้ว พอมานั่งตรงนี้ ทำงานกับต่างประเทศ มันเปิดความคิดให้ความหลากหลายเข้ามา คือ การเรียนรู้ คือโอกาส ทำงานกับญี่ปุ่น เราได้ฝึกทักษะซับซ้อนต่างๆ จากไม่เคยทำก็ฝึกได้ นี่คือการเข้าถึงโอกาส แต่เข้าถึงโอกาสอย่างเดียวไม่พอ ภายใต้โอกาสนั้นต้องมีระบบสนับสนุนด้วย”
“คีย์อยู่ที่ว่า คนในสังคมยังมีข้อสงสัย วิตกกังวลว่า คนพิการทำได้เหรอ โอกาสเลยไม่มา ดังนั้น สังคมต้องเชื่อว่าคนพิการทำได้ แทนที่จะสงสัย” เสาวลักษณ์ย้ำ
[b]สังคมมองคนพิการต้องสงเคราะห์ [/b]
“ลองจริงใจกับตัวเอง ถ้าพูดถึงทำบุญ ทำความดี ทำกับใคร” เสาวลักษณ์ตั้งคำถาม
“การช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่า คนพิการ ผู้สูงอายุ คนกลุ่มเปราะบาง สังคมคิดว่าเป็นการทำความดีและทำบุญ แบบนี้คือแนวคิดสงเคราะห์” เธอย้ำ!
“และเวลาทำความดีกับกลุ่มเปราะบาง ไม่ได้คิดว่า ทำให้คนเปราะบางเป็นเหมือนกับคนทั่วไป เข้าถึงสิทธิและหน้าที่พลเมืองเหมือนกัน แต่กลับมองว่า เขาไม่มีกิน ยากจน ลำบาก ต้องเอาข้าวเอาอาหารไปให้ เอาของไปบริจาค แต่ไม่ได้แปลถึงสิทธิที่เขาจะต้องได้อย่างเท่าเทียม”
“ถ้าคนทั่วไปเรียนได้ถึงปริญญาตรี คนพิการก็ควรมีโอกาสได้เรียนถึงปริญญาตรีเช่นกัน สังคมไม่ได้คิดถึงตรงนั้น คิดถึงแค่ปัจจัย 4 และไม่ได้คิดไกลไปกว่า ว่าเขาน่าจะหาปัจจัย 4 ได้ด้วยตัวเอง และมีสิทธิเลือกปัจจัย 4 ได้เอง อาหารก็มีสิทธิเลือกว่าอยากจะกินอะไร เสื้อผ้าก็มีสิทธิเลือก”
“ความสงสารและอยากช่วยเหลือคนพิการเป็นวิธีคิดปัจเจก และพอปัจเจกเยอะๆ มารวมกัน ก็เป็นวิธีคิดสงเคราะห์ของสังคม”
เสาวลักษณ์ ทองก๊วย กก.สิทธิคนพิการ “ยูเอ็น” ชำแหละ “คุณภาพชีวิตคนพิการ” ไข่ในหิน-ค่าใช้จ่ายเพิ่ม