'หนึ่งทุน หนึ่งฝัน ปั้นอนาคต' เสริมรากแก้ว ผู้พิการบนใบหน้า
[/p]
ศ.กิตติคุณ นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ หัวหน้าศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ อธิบายว่า ปัจจุบันผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ อาทิ ปากแหว่งเพดานโหว่ พบในเด็กแรกเกิดสัดส่วน 1 : 700 ราย โรคงวงช้างมีสัดส่วน 1 : 5,000 ราย หรือโรคที่เกี่ยวกับรอยเชื่อมของกะโหลกศีรษะเชื่อมเร็วกว่าปกติพบที่สัดส่วน 1 : 30,000 ราย หากมีความผิดปกติทางใบหน้าร่วมกับนิ้วติดกันจะอยู่ที่สัดส่วน 1 : 40,000 ราย
นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ รองหัวหน้าศูนย์สมด็จพระเทพรัตนฯ กล่าวเสริมว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยกลุ่มนี้พิการเพียงใบหน้า แต่สมองและความสามารถยังมีศักยภาพ ยกเว้นการรักษาช้าเกินไป เช่น โรครอยต่อกะโหลกศีรษะเชื่อมติดก่อนกำหนด ทำให้สมองโตไม่ได้ ทั้งนี้ ความพิการดังกล่าวป้องกันไม่ได้ 100% เพราะเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง หากจะมีบุตรให้ วางแผนครอบครัว ปรึกษานักพันธุศาสตร์ และใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วย ก่อนตั้งครรภ์ต้องมีการบำรุงล่วงหน้า 1-3 เดือน เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่ก็มีส่วนเช่นกัน
'หนึ่งทุน หนึ่งฝัน ปั้นอนาคต' เสริมรากแก้ว ผู้พิการบนใบหน้า