“ทหารผ่านศึก” เกียรติยศแห่งชายชาติทหารไทย
[/p]
[b]แต่ไหนแต่ไรมา สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอเกี่ยวกับ “ทหาร” คือภาพลักษณ์ “รั้วของชาติ” ที่เป็นผู้เสียสละ ทำหน้าที่ปกป้องเอกราชของแผ่นดินไทย จนอาจเรียกได้ว่า “อาชีพทหาร” คืออาชีพที่ไม่ได้ขายความคิด ไม่ได้ขายการบริการ หรือขายความบันเทิง แต่อาชีพทหาร “ขายชีวิต” เพื่อความสงบสุขของประเทศ[/b]
แต่เมื่อต้องต่อสู้และบาดเจ็บในศึกสงคราม “รั้วของชาติ” ที่ปลดประจำการแล้วจะมีใครเข้ามาดูแล ความสูญเสียของเหล่าทหารและครอบครัวจะมีสิ่งใดมาทดแทน ด้วยเหตุนี้ “องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก” จึงถูกก่อตั้งขึ้น เพื่อดูแล “ทหารผ่านศึก” ที่ผ่านสมรภูมิรบและสละชีพปกป้องบ้านเมืองอย่างกล้าหาญ และเนื่องในโอกาส “วันทหารผ่านศึก” ซึ่งตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ Sanook จึงขอเชิดชูเกียรติทหารไทยด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจและแง่มุมต่าง ๆ ของทหารผ่านศึกที่หลายคนอาจจะไม่เคยได้รู้
[b]เกิดเป็นชาย ไว้ลายชาติทหาร[/b]
“สมัยเด็กจะมีหนังกลางแปลง หนังขายยามาฉาย เป็นหนังเกี่ยวกับทหาร ความที่เราเป็นเด็ก เราก็ไปดูหนัง พระเอกก็สมบัติบ้าง สรพงศ์บ้าง มันก็ฝังใจ มีความคิดอยากเป็นทหารจะได้ป้องกันประเทศชาติ มันดูเท่ด้วยแหละ เป็นความชอบส่วนตัว” [b] อส.ทพ. สำเริง นวลพุดซา นายกสมาคมทหารผ่านศึกพิการแห่งประเทศไทย[/b] เล่าย้อนไปถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เขามาสมัครเป็นทหาร
คุณสำเริงก็เหมือนกับเด็กหนุ่มวัยรุ่นทั่วไปที่อยากเป็นทหารเพราะความเท่ ทั้งยังได้ถือปืนปกป้องประเทศเหมือนในภาพยนตร์ที่เคยได้ดู ไม่ต่างจาก อส.ทพ.สมเกียรติ กัลปพฤกษ์ ทหารผ่านศึกที่เคยร่วมรบใน “สมรภูมิบ้านร่มเกล้า” ที่เล่าให้เราฟังว่า ตนเองมาเป็นทหารเพราะใจรัก บวกกับการเห็นรุ่นพี่ผู้ชายแต่งชุดทหารก็ยิ่งทำให้อยากเป็น เมื่อเรียนจบ ม.3 จึงตัดสินใจไม่เรียนต่อ และไปสมัครทหารเมื่อปี 2525
“พอเรียนจบ ม.6 เปิดสอบนายสิบอะไรต่าง ๆ ทหารเรือบ้าง อะไรบ้าง ก็ไปสอบหมดแต่สอบไม่ติด แล้วความอยากเป็นทหารยังมีอยู่ พอดีค่ายปักธงชัยเปิดรับสมัครทหารพราน ก็ไปสมัคร ไหน ๆ ก็เป็นทหารไปรบเหมือนกัน ผลปรากฏว่าไปทดสอบร่างกายอะไรต่าง ๆ ก็ได้ ฝึกอยู่ 45 วันแล้วก็ออกไปปฏิบัติหน้าที่เลย” คุณสำเริงบอกหลังจากได้ฟังเรื่องราวของคุณสมเกียรติ
ทั้งคุณสำเริงและคุณสมเกียรติเข้าสมัครเป็นทหารพราน ณ ค่ายปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งถือเป็นค่ายทหารพรานที่ใหญ่ที่สุดค่ายหนึ่งของประเทศในขณะนั้น และได้สร้าง “นักรบดำ” มากมายเพื่อร่วมปฏิบัติหน้าที่กับกองกำลังอื่น ๆ อย่างกล้าหาญ คุณสำเริงพูดติดตลกว่า ถ้าเรียกทหารว่า “แนวหน้า” ทหารพรานก็เป็น “หน้าแนว” อีกทีหนึ่ง
“ค่ายปักธงชัยสมัยก่อนนะ ที่ไหนหนัก ทุกตารางนิ้วของประเทศไทย สามารถขอได้เลย ค่ายปักธงชัยก็จะส่งไป หลังจากนั้นเราก็ทำงานตามแนวชายแดนอยู่ตลอด แล้วก็ไปรบที่ร่มเกล้าเป็นยุทธการสุดท้าย” คุณสมเกียรติกล่าว
“ทหารผ่านศึก” เกียรติยศแห่งชายชาติทหารไทย