พลังโหวต "คนพิการ"...สะเทือนพรรคการเมือง
[/p]
การอำนวยความสะดวกแบบนี้ ทำให้พรรคการเมืองจะละเลยเสียงของคนพิการไม่ได้อีกต่อไป
ดังนั้นคำถามสำคัญคือ นโยบายแบบใดที่จะโดนใจคนพิการ ?!?
"สุพรธรรม มงคลสวัสดิ์" มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ กล่าวถึงนโยบายคนพิการกับพรรคการเมืองว่า ช่วงหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมาครั้งนี้ มีนักการเมืองหรือพรรคการเมืองกล่าวถึงนโยบายเกี่ยวกับคนพิการน้อยมาก ทั้งที่คนพิการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยและมีจำนวนไม่น้อย จากตัวเลขคนมาลงทะเบียนมีบัตรคนพิการและผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน เชื่อว่าอาจมีถึง 10 ล้านคนได้ เนื่องจากนิยามของผู้พิการของสากลนานาชาติ ได้รวมถึงผู้สูงอายุหรือคนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองให้ดำรงชีวิตแบบคนทั่วไปได้ เช่น คนเป็นโรคหัวใจ คนป่วยโรคไต โรคประจำตัวอื่นๆ
"นโยบายพรรคการเมืองที่คนพิการอยากเห็น คือ การสนับสนุนอาชีพและการทำงาน เป็นเรื่องปากท้องไม่ใช่แค่เรื่องเงินอุดหนุนรายเดือนเท่านั้น และที่สำคัญคือนโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินกองทุนคนพิการที่ตอนนี้มียอดสะสมอยู่ไม่ต่ำกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทพรรคการเมืองควรพูดว่าจะมีนโยบายในการบริหารจัดการเงินกองทุนนี้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนเรื่องนโยบายเงินอุดหนุนรายเดือนนั้น อยากให้ประเมินอุดหนุนตามความเป็นจริง เพราะคนพิการมีหลายกลุ่ม หากเป็นกลุ่มช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลยควรให้มากหน่อยไม่ต่ำกว่า 2,000-3,000 บาทต่อเดือน ส่วนที่พอช่วยเหลือตัวเองมีงานทำบ้างอาจประมาณ 1,000 บาท"
นายสุพรธรรมอธิบายต่อว่า คนพิการหลายล้านคนในสังคมไทยมีความหลากหลายและแตกต่างกันทางครอบครัวและทางเศรษฐกิจ ดังนั้นนโยบายเกี่ยวกับคนพิการควรให้คนพิการเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิดและทำ ในอดีตที่ผ่านมาพรรคการเมืองหลายพรรคมีโครงการช่วยเหลือคนพิการที่ดีและมีประโยชน์ แต่ส่วนใหญ่ขึ้นกับหัวหน้าพรรคหรือนักการเมืองแต่ละบุคคลมากกว่าว่า ใครสนใจเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน เช่น พรรคชาติไทยสมัยคุณบรรหารจะสนใจช่วยคนพิการหลายเรื่อง หรือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ก็มีโครงการช่วยเหลือ แต่ถ้าพิจารณาจากภาพรวมแล้วยังไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนยกสถานะให้คนพิการในสังคมไทยมีความเป็นอยู่ที่เหมาะสม หรือดำรงชีวิตแบบช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด
พลังโหวต "คนพิการ"...สะเทือนพรรคการเมือง