เหตุผล 5 สถานีสร้างไม่ได้
[/p]
จักกพันธุ์–เมื่อปี 2543 กทม.ก่อสร้างลิฟต์สำหรับผู้พิการ 5 สถานี 11 ตัว ประกอบด้วย สถานีสยาม 3 ตัว สถานีอโศก 2 ตัว สถานีหมอชิต 3 ตัว สถานีอ่อนนุช 1 ตัว และ 5 สถานีช่องนนทรี 2 ตัว ต่อมาปี 2557 กทม.ก่อสร้างเพิ่มเติมใน 18 สถานี จำนวน 52 ตัว ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี ปัจจุบัน กทม.มีแผนก่อสร้างลิฟต์เพิ่มเติมใน 16 สถานี จำนวน 19 ตัว
ขณะนี้ สภา กทม.อยู่ระหว่างการพิจารณางบประมาณ 256 ล้านบาท หากได้รับจัดสรรงบประมาณดังกล่าวแล้ว กทม.จะดำเนินการก่อสร้างลิฟต์ให้แล้วเสร็จภายใน 210 วัน
ถาม-ที่ผ่านมามีอุปสรรคอะไรถึงทำให้การก่อสร้างลิฟต์ใช้เวลานาน และยังสร้างไม่ครบทุกสถานี
จักกพันธุ์-ภายหลัง กทม.ลงนามสัญญาว่าจ้างบริษัทผู้รับเหมาที่ชนะการประกวดราคา เพื่อเริ่มงานก่อสร้างตามร่างขอบเขตของงาน ก็พบปัญหา ได้แก่ พื้นที่ก่อสร้างลิฟต์ไม่เพียงพอ อุปสรรคการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ระบบไฟฟ้า และมี 5 สถานี ที่ไม่สามารถก่อสร้างลิฟต์เพิ่มเติมได้ ประกอบด้วย 1.สถานีศาลาแดง ไม่สามารถก่อสร้างลิฟต์จากชั้นพื้นดินไปชั้นจำหน่ายตั๋ว เพราะ ติดปัญหาการรื้อย้ายสาธารณูปโภค ระบบไฟฟ้า ในส่วนนี้ กทม.ได้แก้ปัญหา โดยการประสาน รฟม.เพื่อขอให้ประชาชนใช้ลิฟต์ร่วมกับสถานีสีลมของ รฟม. 2.สถานีสะพานตากสิน ขณะนี้มีโครงการปรับปรุงและขยายสถานีจากระบบรางเดี่ยวเป็นรางคู่ โดยลิฟต์นี้จะก่อสร้างพร้อมการปรับปรุงสถานีจำนวน 4 ตัว 3.สถานีชิดลม พื้นที่ทางเท้าแคบไม่สามารถก่อสร้างลิฟต์ได้ 4.สถานีเพลินจิต พื้นที่ทางเท้าแคบ ไม่มีพื้นที่ก่อสร้างลิฟต์ และ 5.สถานีอโศก ภาคเอกชนได้ขออนุญาต กทม.ทำทางเชื่อมมายังสถานีรถไฟฟ้า กทม.จึงขอให้เอกชนก่อสร้างลิฟต์ 1 ตัว เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้งานได้ด้วย
เหตุผล 5 สถานีสร้างไม่ได้