คืบหน้าจ้างงานคนพิการทั่วไทย ก.แรงงาน
[/p]
แม้ว่าประเทศไทยขับเคลื่อนกฎหมายกำหนดอัตราขั้นต่ำในการจ้างงานคนพิการในสถานประกอบการในอัตราร้อยละ 1 (PWDs Employment Quota System) มาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งห้วงเวลากว่า 6 ปีนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงนโยบาย ระบบโครงสร้าง หน่วยงาน โมเดลความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน คนพิการ ขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างแรงงานเข้าระบบตามโควต้ากว่า 70,000 อัตรา ทั้งรูปแบบการจ้างงานในสถานประกอบการ สนับสนุนการทำงานในชุมชน สัมปทาน และการช่วยเหลืออื่นๆ โครงการความร่วมมือรัฐ-เอกชน-สังคมหลากหลายได้เกิดขึ้น อาทิ [b] "สานพลังสู่มิติใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการ 10,000 อัตรา" ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล "ประชารัฐ" [/b] ที่เน้นบูรณาการพลังร่วมจากทุกภาคส่วนและสนับสนุนการจ้างงานและการส่งเสริมอาชีพคนพิการมิติใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหาช่องว่างระหว่างอุปสงค์-อุปทานของตลาดแรงงานคนพิการ
[b] ศักสกล จินดาสวัสดิ์ [/b] รองอธิบดีกรมการจัดหางาน และ [b] สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ [/b] เลขาธิการ Workability Thailand ร่วมแถลงผลสำรวจนายจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน ระบุว่าโดยภาพรวมมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยมิติตัวเลขการจ้างงานพบว่าเกิดการจ้างงานในทิศทางที่เพิ่มขึ้น โดยรูปแบบการจ่ายเงินเข้ากองทุน (ม.34) ลดลงถึง 13% และมีการขยายผลสู่การจ้างงานตามม.33 เพิ่มขึ้นถึง 17% โดยพบว่าปัจจัยทางกฏหมาย/นโยบายมีระดับความพร้อมที่ดีขึ้นมาก แต่สะท้อนถึงความไม่ชัดเจนของการเข้าถึงและการรายงานผลการใช้งบประมาณกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ในมิติความพร้อมของสถานประกอบการ พบว่าความพร้อมการเปิดรับในระดับนโยบายองค์กรในระดับสูง ยังขาดความชัดเจนในรูปแบบ/ทิศทางที่เหมาะสมตามบริบทขององค์กร ส่วนมิติความพร้อมของคนพิการ เอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าคนพิการมีความสามารถในการดำรงชีวิตและมีความพร้อมในการทำงานในระดับที่ดีขึ้น ในมิติปัญหาอุปสรรค พบเสียงสะท้อนจากการขาดศูนย์ประสานให้ข้อมูลการเชื่อมโยง และข้อท้าทายจากการสร้างความร่วมมือภาคส่วนคนพิการ ซึ่งสอดคล้องกับการสะท้อนถึงมุมมองระดับความเชื่อมั่นต่อความโปร่งใสของหน่วยงานสนับสนุน (สมาคม องค์กรคนพิการ) และปัญหาการเข้าถึงข้อมูลคนพิการเป็นสาเหตุสำคัญ
ขณะที่ทิศทางโมเดลของนายจ้าง พบมีความต้องการรูปแบบการจ้างงาน (75%) และการซื้อสินค้า (15%) ตามลำดับ โดยตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการมากคือ งานธุรการ/สนับสนุนทั่วไป โดยต้องการความพิการประเภทเคลื่อนไหว (56%) เป็นอันดับแรก ทางการได้ยิน/สื่อความ (35%) และทางการมองเห็น (16%) ตามลำดับ
ทั้งนี้ นายจ้างยังมีข้อเสนอต่อกลยุทธ์ในระดับนโยบายที่มุ่งเน้นการสื่อสาร จัดตั้งศูนย์ประสานเชื่อมโยง ตลอดจนการสำรวจข้อมูลความต้องการแรงงานคนพิการ และมาตรฐานวิชาชีพที่เหมาะสมในระดับประเทศ ส่วนกลยุทธ์ภายในองค์กร พบว่า [b] นายจ้างมุ่งทิศทางในการบูรณาการเรื่องคนพิการเข้าสู่กระบวนการดำเนินธุรกิจ (Value Chain) เป็นอันดับแรก [/b] โดยพบรูปแบบการส่งเสริมการมีงานทำคนพิการหลากหลายตามโมเดลธุรกิจ เช่น การจัดตั้งโมเดลธุรกิจแฟรนส์ไชส์ ร้านกาแฟ TRUE แก่กลุ่มเด็กออทิสติก การจ้างผลิตของขวัญลูกค้าประกันภัยของบริษัทอลิอันซ์ อยุธยา การบริจาคขยะคอมพิวเตอร์ของบริษัท SMC แก่คนพิการเพื่อนำไปทำธุรกิจคัดแยกรีไซเคิล เป็นต้น ถัดไปนายจ้างเห็นว่าควรกำหนดเป็น KPI ในระดับองค์กรเพื่อส่งเสริมการบูรณาการ ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือรายกลุ่ม
คืบหน้าจ้างงานคนพิการทั่วไทย ก.แรงงาน