เปิดโฉม "สมาร์ท ซิตี้" ต้นแบบอารยสถาปัตย์ รับสังคมสูงอายุ-ผู้พิการ
[/p]
นอกจากนั้น หากผู้สูงอายุต้องการขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน แอพพลิเคชั่นนี้สามารถส่งการแจ้งเตือนที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ หรือญาติได้ทันที โดยแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะดังกล่าว จะสังเกตจากการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของผู้สวมใส่ เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ซึ่งเหมาะ อย่างยิ่งกับ “ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์”
[b] ทั้งนี้ การทำงานของแอพพลิเคชั่นจะเก็บข้อมูลของผู้สวมใส่ ทั้งข้อมูลทางการเคลื่อนไหว จำนวนก้าว เดิน การคำนวณพลังงาน เพื่อรวบรวมเก็บไว้รายงานกิจกรรมต่อวันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแล ซึ่งมีผลในการดูแลสุขภาพและคำนวณกรณีที่อันตรายเกิดขึ้น [/b]
เมืองต้นแบบ “ขอนแก่น สมาร์ท ซิตี้” ผลพวงจากการขับเคลื่อนให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ตระหนักถึงการออกแบบอารยสถาปัตย์เพื่อรองรับสังคมของผู้พิการและสังคมผู้สูงอายุข้างต้นนั้น วันนี้ไม่เพียงจะทำให้หลากหลายหน่วยงานให้การตอบรับ
ล่าสุด จังหวัดขอนแก่นยังได้ชื่อว่าเป็น “เมืองต้นแบบ” สมาร์ท ซิตี้ เฟรนด์ลี่ ดีไซน์ ที่มีความพร้อมเรื่อง “อารยสถาปัตย์” และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล
การที่ “ขอนแก่น” ได้รับการคัดเลือกก็เนื่องจากความพร้อมในด้านต่างๆ โดยภายในจังหวัดจะมีกลุ่มจิตอาสาที่คอยให้ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการอย่างใกล้ชิดแก่ประชาชนทั่วไป
ขณะที่บ้านพักและโรมแรมต่างๆ จะมีทางลาดไว้สำหรับอำนวยความสะดวกต่อผู้สูงอายุ หรือผู้พิการที่ใช้รถเข็น ห้องพักจะมีระบบคีย์การ์ดและประตูจะใช้การสไลด์ไปด้านข้างแทนการเปิดแบบธรรมดา ภายในห้องพักจะตกแต่งพิเศษอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงวัยหรือพิการ โดยใช้ระบบอัตโนมัติหรือเซ็นเซอร์ต่างๆในการทำงาน และยังมีปุ่มฉุกเฉินที่สามารถกดเรียกพนักงานให้เข้ามาช่วยเหลือเผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ตลอด 24 ชั่วโมง
“อย่างไรก็ตาม การจะเป็น สมาร์ท ซิตี้ ได้ องค์รวมของจังหวัดต้องมีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุและคนพิการ อาทิ ทางลาดชัน ห้องน้ำที่มีราวจับ มีที่จอดรถ มีป้ายสัญลักษณ์ชัดเจน ปั๊มน้ำมันมีป้ายแสดงพื้นที่เพื่อคนพิการ เป็นต้น
นอกจากนี้ จังหวัดขอนแก่นยังเป็น “ไมซ์ ซิตี้” (Mice City) หรือศูนย์กลางของการจัดประชุมสัมมนาและนิทรรศการต่างๆ ที่มีคนเดินทางแต่ละปีจำนวนมาก ทำให้เห็นโอกาสเติบโตด้านธุรกิจ
ภาคเอกชนในจังหวัดขอนแก่นได้รวมตัวกัน 20 ราย จัดตั้ง บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคทีที) จำกัด ร่วมกับ 5 เทศบาลในจังหวัดผลักดันระบบขนส่งมวลชล หรือรถไฟฟ้ารางเบา Light Rail Transit System (LRT)รวมถึงการฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นตัวนำ อาทิ สมาร์ทบัส บริการภายในเทศบาลขอนแก่น เพื่อสร้างการเรียนรู้การใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ เป็นต้น
ในอนาคตทางองค์กรจะขยายและเร่งพัฒนาเมืองอารยสถาปัตย์อีก 10 จังหวัดได้แก่ น่าน ตาก สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต นครพนม ลำปาง เชียงใหม่ พัทยา ชลบุรี และยโสธร เพื่อยกระดับให้เป็น “เมืองสมาร์ท ซิตี้” ต่อไป
[b] โชว์ผล สำเร็จงานอารยสถาปัตย์ [/b]
นายกฤษณะยังกล่าวถึงการจัดงาน “Thailand Friendly Design Expo 2017” งานแสดงอารยสถาปัตย์และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวลครั้งที่ 2 ที่มูลนิธิร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประ เทศไทย (ททท.), องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และ สำนักงานส่ง-เสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1-4 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า
[b] งานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ส่งเสริมสิทธิความเสมอภาคเท่าเทียมของคนพิการ และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล เป็นหลัก โดยหวังจะผลักดันให้ไทยก้าวขึ้นเป็น “เมืองศูนย์กลางอารยสถาปัตย์แห่งประชาคม อาเซียน” [/b]
ความสำเร็จของการจัดงานในปีนี้ นอกจากเป็นปีแรกที่มีการ “เชื่อมโยงธุรกิจ” ที่มีการจัด ช่วงการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้า (Business-to-business) เพื่อให้เกิดการ ซื้อขายระหว่างกัน มีการ นำแหล่งท่องเที่ยวธุรกิจท่องเที่ยวหรือ Tourism for Allมานำเสนอ โดยมีเงินหมุนเวียนในงานกว่า 500 ล้านบาทแล้ว
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษฯ ยังได้นำแอพพลิเคชั่นต้นแบบการให้บริการข้อมูลการท่องเที่ยวที่ทันสมัย ผ่าน “Smart Pattaya Application” ช่วยให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียงได้ง่ายขึ้น โดยสามารถใช้งานได้ทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ รองรับการทำงานถึง 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษารัสเซีย
เปิดโฉม "สมาร์ท ซิตี้" ต้นแบบอารยสถาปัตย์ รับสังคมสูงอายุ-ผู้พิการ