จากงานวิชาการสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม คืน ‘ตัวตน’ ให้คนประมง
[/p]
พลิกยุทธวิธีใหม่ หลังต่อสู้มากว่า20ปี
ประเทศไทยมีชายฝั่งยาวกว่า 2,600 กิโลเมตร มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ ทะเลไทยยังเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลที่ดีเยี่ยม แต่จากบริบทการทำประมงที่ผิด ทำให้สัตว์น้ำและระบบนิเวศเสื่อมลง รวมทั้งการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ ฯลฯ ทำให้ปริมาณปลาลดลง
ล่าสุด มีการขาย “ลูกปลาทู” ตากแห้ง ถุงโตถุงละ 50-80 บาท เทียบกับปลาทูตัวเต็มวัย 1 กิโลกรัม ได้ 10-11 ตัว แต่ถ้าเป็นลูกปลาทูได้มากถึง 1,000 ตัว
การทำประมงแบบผิดๆ เช่นนี้ ดร.สุภาภรณ์บอกว่า เป็นสิ่งที่ชาวบ้านต่อสู้มากว่า 20 ปี แต่ไม่ก้าวไปข้างหน้า จึงมองว่าต้องเล่นมุมใหม่ ให้เห็นว่าชาวบ้านมี “ตัวตน” เพราะปลาที่เรากินกันมาจากหลายแหล่ง แต่ปลาที่มาจากการทำประมงในวิถีอนุรักษ์ ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม เราแทบไม่สำเหนียกถึงความสำคัญของพวกเขาเหล่านี้เลย เราจึงพยายามทำให้ผู้คนรู้จักชาวประมงที่เขาอนุรักษ์มากว่า 20 ปีแล้ว
[b] “เขาขายปลาทูได้กิโลละ 20 บาท อีก 80 บาทคนกลางเอาไปกิน เรามองว่ามันไม่ใช่…
“สิ่งที่เราทำอยู่ไม่ได้ตอบโจทย์ข้อนี้ แต่พอเรามาทำตรงนี้ กลายเป็นว่าเศรษฐกิจดีขึ้น เงินที่ได้กลับไปก็ไปสู่ชุมชน เป็นสวัสดิการชุมชน” [/b]
จากงานวิชาการสู่วิสาหกิจเพื่อสังคม คืน ‘ตัวตน’ ให้คนประมง