เกษตรผสมผสานแบบประณีต จัดการใช้ดิน ทุน แรงงาน ให้เหมาะสม สู่วิถีที่ยั่งยืน
[/p]
จุดเปลี่ยน เริ่มเมื่อคุณพ่อได้ไปนำหน่อไผ่เลี้ยงที่เจริญเติบโตอยู่ตามริมห้วยในป่าเขามาเป็นอาหารในครัวเรือน ในคราวเดียวกันก็ได้ขุดเหง้าไผ่เลี้ยงมาปลูกที่สวนโดยมีเป้าหมายเพียงได้มีหน่อให้เก็บมากินเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน วิธีการปลูกเลี้ยงไผ่ก็ทำแบบผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความรู้ ได้ปลูกไผ่ระยะระหว่างต้นและแถวห่างกัน 4×4 เมตร หลังการปลูกได้ดูแลรักษาบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะปล่อยให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติ
ส่วนเพื่อนบ้านที่ทราบข่าวต่างแสดงความคิดเห็นว่าไผ่นั้นจะเจริญเติบโตได้ดีที่ตามริมห้วยป่าเขาเท่านั้น เมื่อนำมาปลูกที่นี่จะเจริญเติบโตได้อย่างไร? เหมือนกับเป็นโจทย์ที่ทำให้ต้องค้นหาวิธีการสู้ ด้วยความมุ่งมั่นในปี 2552 จึงได้ทดลองปรับเปลี่ยนระยะการปลูกไผ่มาเป็น 4×3 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 133 ต้น ใช้พื้นที่ปลูกไผ่ 10 ไร่
การเปลี่ยนแปลงอีกครั้งคือ ปี 2558 เราได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสานแบบประณีต และเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นแนวพระราชดำริในการปลูกพืชหลากหลายผสมผสาน ที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสานเหมาะสมเพื่อการลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตจากกิจกรรมหลายชนิดที่เก็บได้ต่อเนื่อง ได้อาหารปลอดสารเคมีบริโภคเพื่อสุขภาพดีทั้งครอบครัว ด้วยความมั่นใจว่าดีและเราทำได้ ครอบครัวจึงตัดสินใจร่วมกันทำการปรับเปลี่ยนสวนอีกครั้งมาเป็นเกษตรผสมผสานแบบประณีต
เกษตรผสมผสานแบบประณีต จัดการใช้ดิน ทุน แรงงาน ให้เหมาะสม สู่วิถีที่ยั่งยืน