"เติมเต็มชีวิต" ด้วย "เสื้อผ้า" สานฝัน-เปิดศักยภาพ"ผู้พิการ"
ด้วยตระหนักถึงศักยภาพของผู้พิการ ทาง มูลนิธิเวชดุสิต ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมกับบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS และแบรนด์ดีไซเนอร์ [b]จัดโครงการ “ความฝันไม่มีวันพิการ” ปีที่ 3 “ร่วม-ลงมือ-ทำ” เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันในการเสริมสร้างศักยภาพและโอกาสให้กับเด็กที่พิการ ด้อยโอกาส ให้สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จตามความฝัน[/b]
รศ.อัจจิมา เศรษฐบุตร กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเวช ดุสิตฯ ระบุถึงการจัดโครงการฯ ในปีนี้ว่า [b]สืบเนื่องมาจากผลสำรวจออนไลน์พบว่า ผู้คนในสังคมกว่า 44.95% เชื่อว่า น้อง ๆ ผู้พิการสามารถทำอาชีพอะไรก็ได้ที่ตนอยากเป็น โดยสองอันดับแรกในกลุ่มอาชีพสร้างสรรค์ที่น้อง ๆ ผู้พิการใฝ่ฝันอยากทำคือ แฟชั่น และดนตรี จึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการเปิดโอกาส[/b] เพิ่มทางเลือก และสร้างแรงบันดาลใจให้น้อง ๆ ผู้พิการและด้อยโอกาส ให้กล้าทำตามความฝันโดยไร้ขีดจำกัด
[b] “มูลนิธิฯ จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มดีไซเนอร์ชั้นนำของไทย ได้แก่[/b] สเรทซิส (Sretsis) ปฏิญญา (Patinya) เกรฮาวด์ ออริจินัล (Greyhound Original) ในการพัฒนาทักษะ ความสามารถ และเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้แสดงศักยภาพที่ซ่อนเร้นออกมา ผ่านการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์และออกแบบเสื้อผ้า [b]รวมถึงเสื้อผ้าดัดแปลงสำหรับผู้มีข้อจำกัดทางร่างกาย หรือ Adaptive Clothing เพื่อแจกจ่ายให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ขาดแคลน ในเบื้องต้นจำนวน 5,000 ชิ้น ทั่วประเทศ[/b] เพื่อให้พวกเขาสามารถนำประสบการณ์การทำงานบนสนามจริง ที่ร่วมกับมืออาชีพระดับแถวหน้าของเมืองไทย ไปต่อยอดตามเส้นทางอาชีพของตนเอง”
[b]สำหรับแบรนด์ สเรทซิส ได้ให้เยาวชนผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการได้เข้าไปเรียนรู้และสัมผัสการทำงานด้านการออกแบบแฟชั่นร่วมกับดีไซเนอร์และทีมงานที่เกี่ยวข้อง ในบรรยากาศการทำงานจริง[/b] ส่วนแบรนด์ เกรฮาวด์ ออริจินัล ให้ความร่วมมือในการผลิตสินค้า limited edition ที่น้องผู้พิการมีส่วนร่วมในการออกแบบ โดยรายได้จากการจำหน่ายหลังหักค่าใช้จ่ายในการผลิตนั้นมอบเข้ามูลนิธิเวชดุสิตฯ เพื่อใช้ในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพที่ยั่งยืนให้กับผู้พิการทั่วประเทศต่อไป
[b]ด้านแบรนด์ ปฏิญญา ให้ความร่วมมือด้านการ ออกแบบและผลิตชุดต้นแบบเสื้อผ้าดัดแปลงสำหรับผู้มีข้อจำกัดทางร่างกาย โดยหาข้อมูลเชิงลึกกับกลุ่มเยาวชนผู้พิการทางร่างกาย แลกเปลี่ยนความรู้ในการออกแบบและการใช้งานจริงร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ[/b] เพื่อนำไปผลิตจริงและมอบให้ผู้พิการและผู้ป่วยยากไร้ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังร่วมให้ความรู้ เสริมทักษะการออกแบบแฟชั่น ให้กับกลุ่มผู้พิการที่มีทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อใช้ต่อยอดและสร้างอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป
[b] “สำหรับคนทั่วไปการใส่เสื้อผ้าอาจไม่ใช่ปัญหา แต่สำหรับผู้มีข้อจำกัดทางร่างกายการสวมใส่และถอดเสื้อผ้าที่มีอยู่ทั่วไปอาจกลายเป็นความยากลำบากที่ต้องพบเจออยู่บ่อยครั้ง[/b] เนื่องจากเสื้อผ้าที่มีอยู่ทั่วไปไม่ได้ถูกออกแบบสำหรับผู้ที่มีสรีระที่แตกต่างและไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว [b]จึงทำให้รูปแบบเสื้อผ้ามีข้อจำกัดในการสวมใส่” [/b]...ไพฑูรย์ แซ่จิ๋ว นักกีฬาเทเบิลเทนนิสพาราลิมปิก ตัวแทนผู้พิการ พูดถึงการสวมใส่เสื้อผ้าให้ฟัง
[b]การออกแบบเสื้อผ้าดัดแปลงสำหรับผู้มีข้อจำกัดทางร่างกาย ที่ต้องออกแบบให้แตกต่างไปจากเสื้อผ้าทั่วไปนั้น ทิศทางในการออกแบบจะเป็นเช่นไร ปฏิญญา เกี่ยวข้อง แบรนด์ปฏิญญา พูดถึงเรื่องนี้ให้ฟังว่า[/b] โจทย์สำคัญของการออกแบบ คือข้อจำกัดทางร่างกายและการใช้งานที่แตกต่าง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นหลักสำคัญคือ[b]การทำเสื้อผ้าที่สวมใส่และถอดได้ง่าย ทำให้กลุ่มผู้พิการไม่รู้สึกว่ามีปัญหาในการใส่เสื้อผ้า โดยเริ่มจากหาข้อมูลก่อนจากกลุ่มผู้ใช้งาน โดยเริ่มจากกลุ่มที่นั่งวีลแชร์[/b] เพื่อที่จะได้รู้วิธีการสวมใส่ เรียนรู้การใช้ชีวิต การเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งท่านั่งบางท่า เพื่อให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริง ก่อนที่จะนำปัญหาหรือข้อจำกัดต่าง ๆ มาเป็นโจทย์ในการออกแบบกับทางทีมงาน เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้จริง
[b] “ความท้าทายอยู่ที่ต้องหาจุดของความสมดุลระหว่างงานดีไซน์ การออกแบบ กับฟังก์ชันการใช้งานจริง เพราะโดยส่วนใหญ่ในฐานะที่เป็นดีไซเนอร์[/b] ในการทำแต่ละคอลเลกชั่นมักจะคำนึงถึงความสวยงาม เข้ากับยุคสมัยเป็นหลัก แต่การออกแบบในครั้งนี้ต้องหาจุดของความสมดุลระหว่างความสวยงามและการใช้งานได้จริงจากการสวมใส่เสื้อผ้าที่มีข้อจำกัดมากกว่าปกติ”
มีการวางแผนเบื้องต้นว่า จะทำชุดต้นแบบ เสื้อ กางเกง ที่ใส่ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งในส่วนของรายละเอียดการออกแบบจะคำนึงถึงความแตกต่างทางสรีระของแต่ละบุคคล [b]โดยนำร่องที่เสื้อผ้ากลุ่มคนที่นั่งวีลแชร์ ซึ่งสิ่งสำคัญในการออกแบบคือต้องสวมใส่และถอดได้สะดวก[/b] โดยมีการปรับรูปแบบ การตัดเย็บ ส่วนประกอบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานมากขึ้น
"เติมเต็มชีวิต" ด้วย "เสื้อผ้า" สานฝัน-เปิดศักยภาพ"ผู้พิการ"