พิการสายตา-ได้ยิน เที่ยวพิพิธภัณฑ์สัมผัสได้
[b]ภายในห้องรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นที่ 82 ตางรางเมตร ของพิพิธภัณฑ์สัมผัสฯ ประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ 15 ฐานที่เกี่ยวกับการแพทย์และเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ได้แก่ 1. [/b] พัฒนาการทารกและเด็กแฝด 2. ระบบทางเดินอาหาร 3. อาหารอุดตันหลอดลม 4. โรคเบาหวาน 5. หนอนพยาธิ 6. นิ่วในระบบปัสสาวะ 7. บุหรี่กับมะเร็งปอด 8. ไรฝุ่น 9. สัตว์ร้ายใกล้ตัว 10. อาจารย์ใหญ่ 11. ซีอุย 12. พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล 13. นักโบราณคดี 14. มนุษย์กับไฟ 15. เครื่องมือยุคหิน มาจัดแสดงเพื่อให้ผู้พิการทางสายตา (ตาบอด) และการได้ยิน (หูหนวก) ได้เรียนรู้
[b]ก่อนเข้าสู่ภายในพิพิธภัณฑ์ เจ้าหน้าที่จะมอบอุปกรณ์ “Pick Up“ พร้อมหูฟังให้แก่ผู้เข้าชมที่พิการทางสายตา ส่วนคนพิการทางการได้ยินจะได้รับอุปกรณ์แท็บเล็ตและหูฟัง[/b] ที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนไกด์นำชมและเล่าเรื่องราวแต่ละฐาน วิธีการเรียนรู้ในแต่ละฐาน เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณ ผู้พิการทางสายตาจะใช้มือขวาจับและรูดมาไปตามราวโลหะด้านข้าง [b]เมื่อสัมผัสแผ่นยางนูนจะหยุดและหันซ้ายกลับมา เป็นฐานวางสิ่งแสดง สูงระดับเอว บริเวณมุมขวาล่างของโต๊ะทุกตัวจะมีกล่องติดไว้ ก็จะนำเจ้า “Pick Up” ที่ได้รับชี้ไปที่กล่องพร้อมกับกดปุ่มนูน 1 ครั้งก็จะมีเสียงบรรยาย[/b] ความรู้ในเรื่องนั้น และผู้พิการทางสายตา ก็สามารถใช้มือคลำและสัมผัสสิ่งจัดแสดงได้ เมื่อเสร็จสิ้นก็ใช้มือขวาจับราวเหล็กไปยังฐานต่อไป
ทั้งนี้ [b]ภายในพิพิธภัณฑ์สัมผัสจะมี 3 ฐานการเรียนรู้ที่มีเรื่องราวภายเคลื่อนไหวสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน คือ[/b] เครื่องมือยุคหิน,ซีอุย และอาจารย์ใหญ่ โดยที่ป้ายก็จะมีสัญลักษณ์เครื่องแท็บเล็ต แสดงไว้ ตรงนี้ผู้พิการทางการได้ยิน จะสามารถชมภาพเคลื่อนไหว คำบรรยายเรื่องราวผ่านแท็บเล็ตในมือได้ มาทำความรู้จักแต่ละฐานการเรียนรู้กันเถอะ!!
คนพิการทางสายตาคลำรูปปั่นที่ความรู้ด้านการแพทย์