สื่อปั้นศักยภาพเด็กพิการ
[/p]
[b] “คนพิการ”หลายคนมีพลัง สติปัญญาความรู้ ความสามารถ ที่จะสามารถช่วยในการพัฒนาประเทศชาติ ได้เฉกเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป หากดึงศักยภาพของพวกเขามาใช้ได้[/b]
การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ด้วยรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับประเภทของความพิการ จะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยสร้างโอกาส ความเท่าเทียม ช่วยให้คนพิการใช้ชีวิตในสังคม ได้อย่างมีความสุข [b]ผศ.ดร.สัญชัย สันติเวส ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในทีมผู้วิจัย โครงการออกแบบสื่อเพื่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) สำหรับนักเรียนตาบอดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย" ของคณะวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นอีกหนึ่งงานวิจัยเพื่อพัฒนาคนพิการ เล่าว่า[/b] จากปัญหาอุปสรรคในการเรียนศิลปะของเด็กที่มีความพิการทางการมองเห็น หรือ ตาบอด โดยเฉพาะคนที่ตาบอดสนิท จะค่อนข้างมีปัญหาในการเรียนศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ที่เป็นการเรียนรู้ รูปทรงต่างๆ ได้ด้วยการมองเห็น [b]ซึ่งเด็กตาบอดไม่สามารถเรียนรู้ได้เหมือนกับเด็กปกติ ทำให้เวลาอยู่ในชั้นเรียนบางครั้งก็ต้องนั่งเฉยๆ หรือปั้นดินน้ำมันไปตามที่ครูสั่ง กรณีต้องทำงานคู่กับเพื่อน เด็กตาบอดก็ทำไม่ได้ เพื่อนเองก็รู้สึกไม่โอเคเพราะต้องทำลำพัง[/b] ทำให้ตัวเด็กเองรู้สึกว่าเขาแปลกแยก ไม่มีความสุขกับการเรียน ทั้งที่เด็กตาบอดก็มีความสนใจอยากเรียนรู้ อยากสนุกกับการเรียนวิชาศิลปะ ขณะที่ครูผู้สอนศิลปะไม่มีเวลาที่จะดูแลเด็กตาบอดได้เต็มที่ และโรงเรียนก็ขาดสื่อที่จะมาช่วยพัฒนา
การออกแบบสื่อ สถาปัตยกรรมการะดาษพับสำหรับนักเรียนคนพิการ