คัดกรอง “เด็กหูหนวกแต่กำเนิด” ยาก ค่าผ่าตัดแพงกว่า 7 แสนบาท ทำรักษาช้า เด็กเป็นใบ้
วันที่ (5 ม.ค.) [b]พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เดินทางมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อร่วมบรรยายพิเศษ “การบูรณาการแผนและการดำเนินงานการพัฒนาวัยเด็กและผู้สูงอายุ” ในการประชุมผู้บริหารระดับสูง สธ.[/b] ซึ่งมี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการ สธ. เป็นประธาน โดย พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนตามกลุ่มวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่ง พม. ก็มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานทั้ง 2 กลุ่มวัย อย่างกลุ่มวัยเด็กต้องมีการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการ [b]ซึ่งการลงทุนกับเด็กนั้นจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมามากถึง 7 เท่า[/b] อย่างไรก็ตาม พม. คงไม่สามารถทำงานเพียงฝ่ายเดียวได้ ต้องมีการบูรณาการร่วมกันหลายกระทรวง อย่าง สธ. ก็มีการทำงานร่วมกันมาตลอด ในเรื่องการดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก เป็นต้น
ทั้งนี้ [b]ในการประชุม นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ สธ. ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเด็กพิการทางหู ว่า[/b] ประเทศไทยมีเด็กแรกเกิดปีละประมาณ 700,000 คน โดยประมาณการว่ามีเด็กพิการหูหนวกชนิดที่สามารถรักษาได้อยู่ประมาณ 1,000 กว่าราย จากการอิงข้อมูลสถิติของทั่วโลก [b]โดยเด็กที่มีปัญหาพิการหูหนวกตั้งแต่กำเนิด หากไม่ได้รับการรักษาจะกระทบกับพัฒนาการด้านการพูด ทำให้เป็นใบ้ด้วย จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฝังแก้วหูเทียม ซึ่งยิ่งได้รับการผ่าตัดเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี โดยเฉพาะภายใน 1 ปีแรก จะช่วยให้เด็กสามารถพูดได้เหมือนเด็กปกติ แต่ปัญหาคือเรื่องของการคัดกรองในเด็กเล็กทำได้ยาก อีกทั้งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง[/b] เฉพาะแก้วหูเทียมอย่างเดียวราคาถึง 700,000 บาท และยังไม่ได้บรรจุในชุดสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) โดยในปี 2559 มีเด็กพิการหูหนวกแต่กำเนิดที่ได้รับการรักษาโดยการฝังแก้วหูเทียมด้วยเงินกองทุนสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพผู้พิการของพม.เพียง5รายเท่านั้น
นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ สธ.