"เหนือ-ใต้-อีสาน" ยังคงวิกฤติภัยแล้งซ้ำซาก!
[/p]
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 2 พ.ค. [b]เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกลำน้ำมูลจากสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 8 (ขอนแก่น) ได้ระดมเรือดูดทรายพร้อมเครื่องจักรเข้าขุดลอกลำน้ำมูลบริเวณบ้านท่าเรือ ต.ท่าม่วง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ [/b]หลังมีสภาพตื้นเขินบางจุดแห้งขอดจนเห็นสันดอนทรายโผล่จนไม่สามารถสูบขึ้นไปผลิตประปาทางเทศบาลจึงได้ทำเรื่องไปยังกรมเจ้าท่าให้มาดำเนินการขุดลอกลำน้ำมูลดังกล่าว โดยมีเป้าหมายขุดลอกความกว้าง 60 เมตร ระยะทางยาว 2 กิโลเมตร และลึกจากระดับพื้นที่ดินเดิม 2 เมตร [b]ใช้ระยะเวลาในการขุดลอก 120 วัน งบประมาณกว่า 2 ล้านบาทซึ่งหากดำเนินการขุดลอกแล้วเสร็จก็จะสามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นเกือบ 100,000 ลูกบาศก์เมตร[/b] ขณะที่นายไชยา กุสุวรรณ เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการขุดลอกลำน้ำมูล กล่าวว่า [b]โครงการขุดลอกลำน้ำมูลในครั้งนี้เป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านและเกษตรกร[/b]
ส่วน จ.นครราชสีมา เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังในเขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา [b]กำลังประสบกับผลกระทบของสถานการณ์ภัยแล้งและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในช่วงนี้ หลายรายต้องลงทุนเป็นเงินกว่า 20,000 บาท[/b] เพื่อมาติดตั้งเครื่องปั๊มออกซิเจนให้กับปลากระชังของตัวเอง เนื่องจากปริมาณน้ำภายในเขื่อนที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ภัยแล้ง และอากาศที่ร้อนจัดไม่มีการถ่ายเทอากาศเหมือนช่วงปกติ ทำให้ปลากระชังของเกษตรกรหลายรายขาดอากาศตายเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน โดยนายสมพงษ์ วงษ์เบ้า [b]หนึ่งในเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังในเขื่อนลำแชะ กล่าวว่า หากปล่อยไว้อาจจะไม่คุ้มค่าและต้องขาดทุนมากกว่านี้ และเมื่อติดตั้งแล้วก็ยังสามารถที่จะใช้ได้อีกหลายปี[/b]
สภาพน้ำในเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก